จัดทำโดย
อ. สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S.
Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S.
Computer Information Systems
B.TM.
แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย
4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า
สวนลุมพินีวัน
(รุมมินเด) ประเทศเนปาล
แสดงว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
ประวัติ และคำสอนของพระพุทธเจ้า
ทรงประสูติ
แคว้นโกลิยะ (ปัจจุบันคือตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล)
การขนานพระนาม และทรงเจริญพระชนม์
พระราชกุมารได้รับการทำนายจากอสิตฤาษีหรือกาฬเทวิลดาบส
มหาฤาษีผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นที่ทรงเคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะว่า
หลังจากประสูติได้ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ประชุมพระประยูรญาติ และเชิญพราหมณ์ ผู้เรียนจบไตรเพท จำนวน 108 คน เพื่อมาทำนายพระลักษณะของพระราชกุมาร
1. ถ้าพระราชกุมารเสด็จอยู่ครองเรือนก็จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม หรือถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิตจักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก
2. ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ผู้มีอายุน้อยกว่าทุกคน ได้ทำนายเพียงอย่างเดียวว่า
พระราชกุมารจักเสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต
แล้วตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต ( การเสด็จสวรรคตดังกล่าวเป็นประเพณีของผู้ที่เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้า ) พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบหมายให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา เป็นผู้ถวายอภิบาลเลี้ยงดู
ได้ทรงศึกษาในสำนักอาจารย์วิศวามิตร
ซึ่งมีเกียรติคุณแพร่ขจรไปไกลไปยังแคว้นต่างๆ เพราะเปิดสอนศิลปวิทยาถึง 18 สาขา
เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาเหล่านี้ได้
อย่างว่องไว และเชี่ยวชาญ
ทรงอภิเษกสมรส
ด้วยพระราชบิดามีพระราชประสงค์มั่นคงที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงครองเพศฆราวาสเป็นพระจักพรรดิผู้ทรงธรรม
จึงพระราชทานความสุขเกษมสำราญ
แวดล้อมด้วยความบันเทิงนานาประการแก่พระราชโอรสเพื่อผูกพระทัยให้มั่นคงในทางโลก
เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติ จนพระชนมายุมายุได้ 29 พรรษา พระนางพิมพายโสรธาจึงประสูติพระโอรส พระองค์มีพระราชหฤทัยสิเนหาในพระโอรสเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงการประสูติ
ของพระโอรสพระองค์ตรัสว่า ราหุล ชาโต,
พันธนะ ชาตะ , บ่วงเกิดแล้ว , เครื่องจองจำเกิดแล้ว
เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้มีพระบารมีอันบริบูรณ์
ถึงแม้พระองค์จะทรงพรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติมหาศาลก็มิได้พอพระทัยในชีวิตคฤหัสถ์
พระองค์ยังทรงมีพระทัยฝักใฝ่ใคร่ครวญถึงสัจธรรมที่จะเป็นเครื่องนำทางซึ่งความพ้นทุกข์อยู่เสมอ
พระองค์ได้เคยสด็จประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง 4 คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต พระองค์จึงสังเวชพระทัยในชีวิต
และพอพระทัยในเพศบรรพิต มีพระทัยแน่วแน่ที่จทรงออกผนวช
เพื่อแสวงหาโมกขธรรมอันเป็นทางดับทุกข์ถาวรพ้นจากวัฏสงสารไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก
พระองค์จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ พร้อมด้วยนายฉันนะ
มุ่งสู่แม่น้ำอโนมานที แคว้นมัลละ รวมระยะทาง 30 โยชน์
(ประมาณ 480 กิโลเมตร )
เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
และทรงมอบหมายให้นายฉันนะนำเครื่องอาภรณ์และม้ากัณฐกะกลับนครกบิลพัสดุ์
ภายหลังที่ทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้ประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จมาเฝ้าพระองค์ ณ เงื้อมเขาปัณฑวะ ได้ทรงเห็นพระจริยาวัตรอันงดงามของพระองค์ก็ทรงเลื่อมใส และทรงทราบว่าพระสมณสิทธัตถะทรงเห็นโทษในกาม เห็นทางออกบวชว่าเป็นทางอันเกษม จะจาริกไปเพื่อบำเพ็ญเพียร และทรงยินดีในการบำเพ็ญเพียรนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสว่า “ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน และเมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอได้โปรดเสด็จมายังแคว้นของกระหม่อมฉันเป็นแห่งแรก ซึ่งพระองค์ก็ทรงถวายปฏิญญาแด่พระเจ้าพิมพิสาร
การแสวงหาธรรมระยะแรกหลังจากทรงผนวชแล้ว สมณสิทธัตถะได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ณ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระองค์ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร ทรงได้สมาบัติคือ ทุติยฌาน ตติยฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน และอากิญจัญญายตนฌาน ส่วนการประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักอุทกดาบส รามบุตร นั้นทรงได้สมาบัติ 8 คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สำหรับฌานที่ 1 คือปฐมฌานนั้น
บ้านนางสุชาดา
ข้างหน้าเป็นภูเขาตงคสิริที่พระพุทธองค์ทรงทรมานสังขาร
“ ทุกร “ หมายถึง สิ่งที่ทำได้ยาก “ ทุกรกิริยา” หมายถึงการกระทำกิจที่ทำได้ยาก ได้แก่การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ” เมื่อพระองค์ทรงหันมาศึกษาค้นคว้าด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแทนการศึกษาเล่าเรียนในสำนักอาจารย์
ณ ทิวเขาดงคสิริ ใกล้ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรานั้น
พระองค์จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง
ในการคิดค้นวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์
คือ พราหมณ์ทั้ง 5 คน ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ
ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นผู้คอยปฏิบัติรับใช้
ด้วยหวังว่าพระมหาบุรุษตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดความรู้บ้าง
และเมื่อพระมหาบุรุษเลิกล้มการบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นครพาราณสี เป็นผลให้พระองค์ได้ประทับอยู่ตามลำพังในที่อันสงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติดำเนินทางสายกลาง คือการปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร นั่นเอง
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้
เวลารุ่งอรุณ ในวันเพ็ญเดือน 6 ( เดือนวิสาขะ)
ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี
นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร)ด้วยอาการอันสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายข้าวมธุปายาส แล้วพระองค์เสด็จไปสู่ท่าสุปดิษฐ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาสแล้วลงสรงสนานชำระล้างพระวรกาย แล้วทรงผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
หลังจากเสวยแล้วพระองค์ทรงจับถาดทองคำขึ้นมาอธิษฐานว่า “ ถ้าเราจักสามารถตรัสรู้ได้ในวันนี้
ก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป
แต่ถ้ามิได้เป็นดังนั้นก็ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยไปตามกระแสน้ำเถิด “ แล้วทรงปล่อยถาดทองคำลงไปในแม่น้ำ
ถาดทองคำลอยตัดกระแสน้ำไปจนถึงกลางแม่น้ำเนรัญชราแล้วลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง 80 ศอก จึงจมลงตรงที่กระแสน้ำวน
พระพุทธรูปปางพิชิตมาร
ลูกสาวเสนามาร 3 คน คือ
นางราคะ นางอรตี
นางตัณหะ
มาเย้ายวนให้เกิดกิเลส ตัณหา ราคะ
เพื่อพันธนาการ ไม่ให้พระองค์ตรัสรู้
จนท่วมพวกพญามาร
น้ำได้ท่วมทำลายพวกบริวารพระยามารที่มา
ขัดขวางการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า
ด้วยน้ำที่พระพุทธได้หลั่งลงบนแผ่นดินเป็นน้ำ
แห่งบุญกุศลได้ที่อุทิศไว้ในอดีตกาล
พระพุทธสังเวชนียที่ 2 สถานที่ตรัสรู้
เจดีย์พุทธคยา ใต้โคนพระศรีมหาโพธิ์
พระธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น
คือ อริยสัจ 4
พระองค์ทรงประทับใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ครบ 7 วัน
ในสัปดาห์ที่ 1
พระแท่นวัชรอาสน์ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์
ที่พระองค์ทรงพุทธดำเนิน
จงกรมบนรัตนจงกรมสถานครบ 7 วัน
ในสัปดาห์ที่ 3
มุจลินทนาคราชบังเกิดอยู่ในสระขึ้นมา
ให้พระองค์นั่งประทับ และแผ่พังพาน
ปกป้องแดด ลม ฝน ครบ
7 วัน
ในสัปดาห์ที่ 6
พระพุทธสังเวชนียที่ 2 สถานที่ตรัสรู้
เจดีย์พุทธคยา พระที่นั่งวัชรอาสน์
ใต้โคนพระศรีมหาโพธิ์
ด้วย
พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
โปรดปัญจวัคคีย์ ด้วย พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน, เมกขัมมสถูป,
สารนาถ, พาราณสี
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงเสวยวิมุติสุข ณ
บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงรำพึงว่า
ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้เป็นการยากสำหรับคนทั่วไป
จึงทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ประกาศธรรม พระสหัมบดีพรหมทราบวาระจิตของพระองค์จึงอาราธนาให้โปรดมนุษย์
ท่านอัญญาโกณฑัณญะได้ธรรมจักษุ คือบรรลุพระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า “ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ” พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดปัญจวัคคีย์ และสาวกอื่นๆซึ่งต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จำนวน 60 องค์แล้ว และเป็นช่วงที่ออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นสมควรว่าจะออกไปประกาศพระศาสนาให้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีพุทธบัญชาให้สาวกทั้ง 60 องค์ จาริกออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยให้ไปแต่เพียงลำพัง แม้พระองค์ก็จะเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในการออกจาริกประกาศ พระศาสนาครั้งนั้นทำให้กุลบุตรในดินแดนต่างๆหันมาเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและขอบรรพชา อุปสมบทเป็นอันมาก ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สาวกเหล่านั้นสามารถอุปสมบทให้แก่กุลบุตรได้ เรียกว่า
“ติสรณคมนูปสัมปทา
คืออุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาตนเป็นผู้ถึงไตรสรณคมน์” พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นเป็นต้นมา
พรรษาที่ 2 พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประชาชน ได้พุทธสาวกดังนี้ เสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางได้โปรดกลุ่มภัททวัคคีย์ 30 คน ที่ตำบลอุรุเวลาได้โปรดชฎิล 3 พี่น้องคือ
อุรุเวกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ
กับศิษย์ อีก 1,000 คน ทรงเทศนาอาทิตตปริยายสูตร ที่คยาสีสะ
แล้วเสด็จไปยังนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวันเป็นที่อาศัยแด่คณะสงฆ์ และได้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก ๒ เดือนต่อมาเสด็จไปยังนครกบิฬพัสดุ์ ทรงพำนักที่นิโครธาราม ทรงได้สาวกอีกมากมาย เช่น พระนันทะ พระราหุล พระอานนท์ พระเทวทัต และพระญาติอื่นๆ
ต่อมาอนาถปิณฑิกะเศรษฐีอาราธนาไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ได้ถวายสวนเชตวันแด่คณะสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ 3 นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ 4 ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ
พรรษาที่ 5 เสด็จโปรดพระราชบิดาจนได้บรรลุอรหัตตผล และทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโหริณี
ฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะ
เกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโหริณี
ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับเผยแพร่พระสัจธรรม
พรรษาที่ 7 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ระหว่างจำพรรษาได้ทรงเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
จนสำเร็จพระโสดาปัตติผล
หลังออกพรรษาท้าวสักกะเทวราชทรงเนรมิตบันไดทองให้เหล่าเทวดา บันไดเงินให้มาพรหมทั้งหลาย และบันไดแก้วมณีถวายพระพุทธองค์เพื่อเสด็จลงเมืองมนุษย์ที่ประตูสังกัสสะนคร
เรียกว่า วันเทโวโรหณะ
พระพุทธองค์ทรงเปิดโลก
ให้มนุษย์เห็นเทวดา
พระพรหม และเห็นได้แม้เมืองนรก
พรรษาที่ 8 ทรงเทศนาในแคว้นมัคคะ ทรงจำพรรษาในเภสกลาวัน
พรรษาที่ 9 ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี
พรรษาที่ 10 คณะสงฆ์ในแคว้นโกสัมพีแตกแยกกันอย่างรุนแรง
พรรษาที่ 11 เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์
ชื่อ เอกนาลา
พรรษาที่ 12 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา และเกิดความอดอยากรุนแรงขึ้นในเวลานั้น
พรรษาที่ 13 ทรงเทศนาและจำพรรษาบนภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ 14 ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี พระราหุลขอผนวช
มายังอาลวี และทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
ภูเขาจาลิกบรรพต
ภูเขาจาลิกบรรพต
พระพุทธองค์ทรงโปรดโจรองคุลิมาลกลับใจเป็นสาวก
พรรษาที่ 20 โจรองคุลิมารกลับใจเป็นสาวก
และทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล
ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์และทรงเริ่มบัญญัติวินัย
พรรษาที่ 21-45 ทรงใช้เชตวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่และเป็นที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่างๆ
พรรษาที่ 45 เป็นพรรษาสุดท้าย พระเทวทัตคิดปลงพระชนม์
กลิ้งก้อนหินจนต้องพระองค์เป็นเหตุให้พระบาทห้อพระโลหิต
ทรงได้รับการบำบัดจากนายแพทย์หลวงหมอชีวกโกมารภัจจ์
สังเวชนียสถานที่ 4 สถานที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจอยู่จนพระชนมายุ 80 พรรษา พระองค์เสด็จจำพรรษาสุดท้ายณ เมืองเวสาลี ในวาระนั้นพระพุทธองค์ทรงพระชราภาพมากแล้วทั้งยังประชวรหนักด้วย พระองค์ได้ทรงพระดำเนินจากเวสาลีสู่เมืองกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองนั้น พระพุทธองค์ได้หันกลับไปทอดพระเนตรเมืองเวสาลีซึ่งเคยเป็นที่ประทับ นับเป็นการทอดทัศนา
เมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย
1. ปุพพัณเห
ปิณฑปาตัญจะ
ตอนเช้าเสด็จออกบิณฑบาตเพื่อโปรดเวไนยสัตว์
2. สายัณเห ธัมมะเทสนัง ตอนเย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนที่มาเข้าเฝ้า
3. ปโทเส ภิกขุโอวาทัง ตอนหัวค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งเก่าและใหม่
4. อัฑฒรัตเต เทวปัญหานัง ตอนเที่ยงคืนทรงวิสัชชนาปัญหาให้แก่เทวดาชั้นต่างๆ
5. ปัจจสเสว คเต กาเล ภัพพาภัพเพ วิโลกนัง ตอนใกล้รุ่งตรวจดูสัตว์โลกที่สามารถและไม่ สามารถบรรลุธรรมได้ แล้วเสด็จไปโปรดถึงที่ แม้ว่าหนทางจะลำบากเพียงใดก็ตาม