Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อค / เว็บ

Monday, February 25, 2013

พระพุทธสุภาษิต และการพิจารณาปฏิจจสมุปปาท เขียนโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์

  พระพุทธสุภาษิต 
และการพิจารณาปฏิจจสมุปปาท

จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
ผู้สนใจการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ยุติการเกิด

พระพุทธสุภาษิต  
                  (Buddha's Proverb)                                

คนที่พูดเท็จเสมอ กับคนที่ทำแล้วพูดว่า "ฉันไม่ได้ทำ" ตกนรกเหมือนกัน คนสองจำพวกนั้น ตายไปแล้วรับผลกรรมไม่ดีเหมือนกันในโลกหน้า

He who always lies goes to hell and who denies what he has done. Those two, the men of base action. share the same destiny in the world to come.

ผู้ใดประทุษร้ายผู้ไม่ทำร้ายใครและเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส ไม่มีความไม่ดี ย่อมให้ผลแก่ผู้ประทุษร้ายนั้น ดุจฝุ่นละเอียดที่ซัดทวนลม ย่อมตกลงบนผู้ซัดฝุ่น

Whoever harms a harmless person, one pure and guiltless, upon that very fool the evil recoils like fine dust thrown against the wind.

บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมไม่ดีย่อมได้รับผลไม่ดี

One reaps whatever one has sown.
Those who do good receive good and those who do evil.

ผลของความไม่ดียังไม่ให้ผลตราบใด คนไม่ดีย่อมเห็นความไม่ดีเป็นของดีตราบนั้น
แต่่เมื่อใดความไม่ดีให้ผล เมื่อนั้นคนไม่ดีย่อมรู้จักความไม่ดี

Even an evil-doer sees good as long as evil ripens not;
But when it bears fruit, then he sees the evil results.

กรรมไม่ดีไม่ทำเสียเลยดีกว่า กรรมไม่ดีย่อมแผดเผาในภายหลัง

The evil deed is left undone; for the evil deed torments afterwards.

ผู้ชนะย่อมสร้างศัตรู ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์ ผู้ไม่มีชนะ ไม่มีแพ้ สงบ ย่อมเป็นสุข
Victory breeds hatred. The defeated live in pain. Happily the peaceful live. Giving up victory and defeat.

พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธตอบ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดพล่อยๆด้วยคำพูดจริง
Conquer anger by love. Conquer evil by good. Conquer the stingy by giving. Conquer the liar by truth.

ทั้งเด็ก ทั้ง ผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายในเบื้องหน้า

All sentient being, whether young or old, foolish or wise, are to go to the power of death, which is their destination.

ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้

Even a piece of coin cannot follow its possessor after his death.

ร่างกายนี้ไม่นานต้องตาย ถูกทิ้งทับบนแผ่นดินดังท่อนไม้ หาประโยชน์อะไรไม่ได้

Before long, this body will lie upon the ground, cast aside, devoid of consciousness. Even as useless charred log.

ทั้งคนรวยคนจน ล้วนมีความตายในเบื้องหน้า

All beings, the rich as well as the poor, are all doomed to death

ปฏิจจสมุปปาท 

(เหตุ-ปัจจัย ซึ่งอาศัยกัน ทำให้เวียนว่ายตายเกิด ) 




การเวียนว่ายตายเกิด 
และการยุติการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร ?

การพิจารณาโดยแยบคายเสมอว่าคนเกิดมาเพราะเหตุอะไร ตายแล้วเกิดอีกเพราะอะไรเป็นสาเหตุ ? และวิธีการดับสาเหตุที่ทำให้เกิดได้อย่างไร

พุทธบริษัท 4 เชื่อว่าทำได้ทุกคน จะดับได้ก่อนหรือหลังนั้น ต้องใช้ปัญญาความรอบรู้ในกองทุกข์ทั้งหลาย ความเบื่อหน่ายที่จะเกิดอีก และการปฏิบัติเพื่อละกิเลส ตัณหา ตัวแสบตัวทำให้เกิดทุกข์ซึ่งบางคนนอนกอดกับพวกมันซึ่งเป็นบริวารพญามารจนวันตายหลายภพชาติก็ยังไม่เบื่อหน่ายสักที 

พวกกิเลส ตัณหาเข้ามาทุกเวลาเพื่อครอบงำยึดครองใจของคนที่ไม่อิ่มทางโลกไว้เป็นบริวารของพวกมันอีกที  จึงต้องมีสติ คือรู้ตัวอยู่ทุกเวลาเหมือนยามเฝ้าประตูทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลื้น กาย ใจ ใจคือพระราชา ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว 

สมาธิ คือความตั้งใจมั่นอยู่เด็ดเดี่ยว ถ้าต้องการเลิกคบกับกิเลส ตัณหา ก็เลิกคบกับมันอย่างเด็ดขาดไปเลย 

ตัวปัญญาคือธรรมะจะบอกอุบายกับใจว่า ต้องเลิกโดยวิธีใด ธรรมะเปรียบเสมือนยาแก้ปัญหาทางใจ ต้องนำมาแก้ตลอดเวลา ให้ทันกับพวกบริวารของมาร 

ตัวสติ คือยามเฝ้าประตูเมือง ทำหน้าที่เปิดปิดประตูไม่ให้ กิเลสตัณหาเข้ามาทำลายใจซึ่งเป็นพระราชาได้ ถ้าเป็นมิตรที่ดี เช่น ธรรมะ มรรค 8 คือหนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ก็ให้เข้ามาได้เสมอ

ยกตัวอย่าง บางคนอยากรวยทำบาปโกงจนร่ำรวยแล้วยังอยากรวยกว่าเพื่อนๆ แต่ไม่ได้นึกว่าตัวทำบาปต้องชดใช้กรรมในนรกแล้วเป็นเปรต ตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้ แม้แต่ผมขนเล็บฟันหนังเป็นต้น 

การแก้ตัวโกรธก็ต้องใช้ธรรมะ ให้นึกถึงความดีที่เขาทำไว้ การให้อภัย การเป็นมิตร คิดเสมอว่าทุกคนเกิดมาต้องตายทั้งนั้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง ใครทำดีก็ได้ดี ใครทำชั่วก็ได้บาป ตัวใครตัวมัน 

อย่ามองคนอื่น ให้มองที่ตัวเรา จนสุดท้าย ท่านว่ามันเบื่อตัวเราๆ แก่ทุกวัน เป็นโรคบ่อยๆ หูก็หนักตาก็มองไม่ชัด ฟันก็หักหมดปาก หนังก็เหี่ยวย่น ผมก็หงอก ร่างกายร่วงโรย เรี่ยวแรงถดถอยน้อยลง หลังก็ค่อม นอนก็ไม่ค่อยหลับ ความต้องการทางเพศก็หมดไปโดยสิ้นเชิง อาหารก็ไม่อร่อย สารพัดเหมือนรถเก่าๆ ที่ต้องผุพังไป เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ใบโกร๋น เปลือกหลุดร่วง กิ่งก้านก็หลุดร่วงเหลือแต่แก่นต้น ถ้าอยู่ใกล้น้ำก็ต้องล้มลอยไปตามน้ำ 

พิจารณาร่างกายที่ทรุดโทรมได้ทุกรูปนามก็เบื่อหน่ายหาความเป็นของเราของฉันไม่ได้ ใจก็ปล่อยวางหลุดออกจากกายเหมือนที่เคยออกไป ทิ้งกายให้เปื่อยเน่าตามธรรมชาติอย่างไม่หวงแหนใยดี เพราะกายนี้ไม่ใช่ของๆเรา เป็นของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด เรามาอาศัยเพื่อใช้กรรมเก่ามาศึกษาธรรมะและปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ใจก็สงบจากความเป็นตัวเรา ก็ไม่กลับมาเกิดอีก

เมื่อทำจิตใจให้สงบพิจารณาตามความเป็นจริงโดยแยบยลก็จะพบเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นดังนี้

  1. เพราะความไม่รู้เหตุของการเวียนว่ายตายเกิดและเหตุของความทุกข์ทั้งปวง (อวิชชา)
จึงทำให้ไปเกิดมีร่างกาย (สังขาร)

  2. เมื่อมีร่างกาย (สังขาร) ก็มีปฏิสนธิวิญญาณ (วิญญาณ) เข้าไปยึดครองอาศัยควบคุมร่างกาย

  3. เมื่อมีร่างกาย (สังขาร) กับจิตวิญญาณมาอาศัย  ก็รวมเป็นจิตวิญญาณกับกาย (นามรูป) คือ

      3.1  มีนาม ๔ คือสิ่งที่มองไม่เห็น (ความคิด, ความรู้สึก,  ความจำ,  และความรู้ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

      3.2  มีรูป ๑ ประกอบด้วยธาตุ ๔ (ดิน, น้ำ, ลม,ไฟ) และธาตุอาศัย เช่น ธาตุหญิง ธาตุชาย.... เป็นต้น

  4. เมื่อมีจิตกับกาย (นามรูป) ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสะพาน (สฬายตนะ) เชื่อมโยงกับอารมณ์ต่างๆ  คือ  รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส  ธรรมารมณ์

  5. เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสะพานเชื่อม (สฬายตนะ)กับอารมณ์ต่างๆ ก็มีสัมผัส (ผัสสะ) เช่น ตาสัมผัสกับรูป  ลิ้นสัมผัสกับรส จมูกสัมผัสกับกลิ่น หูสัมผัสกับเสียง เป็นต้น สัมผัส 
(ผัสสะ) สิ่งที่ถูกใจ,ไม่ถูกใจ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ เฉยๆ คือ (เวทนา)

  6. เมื่อเกิดความสุข ทุกข์ (เวทนา) แล้วก็เกิดความอยาก ไม่อยาก  คือ   (ตัณหา มี ภวตัณหา วิภวตัณหา)
     
  7. เมื่อมีความอยาก ไม่อยาก (ตัณหา)  ก็มีความยึดมั่น (อุปาทาน) ในขันธ์ ๕ มี รูป ๑ และนาม ๔  ( ความรู้สึก, ความจำ, ความคิด, ความรู้ที่เกิดจากอารมณ์ต่างๆ)
  
8.  เมื่อมีความยึดมั่น (อุปาทาน) ในขันธ์ ๕ ก็เกิดเป็น สัตว์ต่างๆ สัตว์นรก เปรต มาร อสุรกาย คน เทวดา

พรหม ในภพต่างๆ  (ที่ไปเกิด/อุบัติขึ้น) มี ๓ ภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ตามผลกรรมที่ทำไว้ ทำให้เวียนว่ายตายและเกิด (ชาติ)  

  9. เมื่อเกิด (ชาติ) ขึ้นมาแล้วก็ต้องมีความแก่ เจ็บป่วย ชรา และมรณะ (ชรา มรณะ) จากโลกนี้ไป

10. เมื่อชรา และมรณะ (ชรา มรณะ) ยังไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา) ว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นทุกข์  ก็ต้องกลับมาเกิดในครรภ์อีก มาหลงอยู่ในโลก(ที่มีความมืด) หรือหลงไปเกิดในภพต่างๆ เพราะจิตยังภาวนาไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง  ยังดับความทุกข์ไม่่ได้ ก็เข้าไม่ถึงพระนิพพาน(มีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด)  แนะนำทางแก้ไข ต้องภาวนา (ทำให้เจริญขึ้น) จนรู้แจ้งเห็นจริง ดับทุกข์ ดับอวิชชาได้ ทุกอย่างที่เป็นเหตุ-ปัจจัยก็ดับ (นิโรธ) ยุติการเกิดอีก 

11. เมื่อรู้แจ้งตามความจริง (วิชชา) ดับกิเลส ตัณหา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิด การไม่ยืดถือมั่นในขันธ์ ๕ จะไม่ไปเกิดในภพต่างๆอีก ไม่ทำให้เจ็บป่วยแก่ชรา มรณะ 

คือต้องเป็นพระอนาคามี(ผู้ไม่กลับมาเกิด) 
พระอรหันต์ (ผู้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลาย) เข้าสู่พระนิพพาน 
ไปสถิตย์อยู่ชั้นสุทธาวาส พระนิพพานมีความสุขสงบอย่างยิ่ง 

ผู้ที่ต้องการความสงบสุขทำได้ทุกเวลาทุกวัน ที่ไหนก็ทำได้

พุทธบริษัท ๔ มีสิทธิ์เข้าถึงพระนิพพานได้แน่นอน ถ้าเชื่อในพระธรรมคือคำสอนของพระพุทธเจ้า(ผู้รู้ผู้เบิกบาน) 
ผู้ปราศจากกิเลส(เครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย) 

ผู้บริสุทธิ์ที่ชาวพุทธควรให้ความเชื่อถือไว้วางใจ (ศรัทธา)
ว่าท่านแนะนำทางดำเนินสู่ความพ้นทุกข์ได้แน่นอน








 --------------------------------------------------------------------------------















 

2 comments:

  1. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  2. ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเป็นทุกข์ ทำความฉลาดกำจัดกิเลส มีความโลภ โกรธ หลงกาย หลงตน หลงรูป หลงนาม หลงโลก หลงอำนาจ หลงยศ หลงรูปรสกลิ่นเสียงกายสัมผัส หลงสมบัติ สารพัดหลง ท่านว่า"ไม่ประมาท" ทำจิตให้สว่างสงบพบปัญญาแสวงหาทางพ้นทุกข์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายแล้วเกิดมาให้เป็นทุกข์

    ReplyDelete