สติปัฏฐาน 4 ทางปฏิบัติภาวนา
การฝึกสมาธิ หลวงปู่เทสก์
และพระอาจารย์สิงห์ทอง
จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
เพื่อถ่ายทอดการปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์
ผู้เป็นพระอริยสงฆ์มีอัฐิเป็นพระธาตุในยุคปัจจุบัน
และเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ของผู้ชม
สติปัฏฐานภาวนา
แสดงธรรมโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง
ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
การฝึกสมาธิด้วยวิธีเจริญสติปัฏฐาน 4
เป็นหลักธรรมอันลึกซึ้งและมีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น สติปัฏฐาน 4 มีอยู่พร้อมแล้วที่กายที่ใจของเราทุกๆ คน ทั้งเป็นของดีเลิศ ผู้ใดตั้งใจแลเลื่อมใสปฏิบัติตาม โดยความไม่ประมาท เต็มความสามารถของตนแล้ว
พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่าอย่างช้า 7 ปี อย่างเร็ว 7 วัน อย่างสูงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างต่ำจะได้เป็นพระอนาคามี เป็นต้น
พระพุทธองค์เมื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่หกปี ได้ทรงนำเอาหลักวิชาที่ได้ศึกษามาทดสอบหาความจริง ก็ไม่เป็นผล มีแต่จะทำให้ฟุ้งส่ายไปมาไม่สงบ จึงทำให้พระองค์ไม่อาจตรัสรู้สัจธรรมได้
เมื่อพระองค์ทรงย้อนมาดำเนินตามแนว ฌาน - สมาธิ ที่พระองค์เคยได้เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีใครสอนให้ แล้วจิตของพระองค์ก็สามารถเข้าถึงองค์ฌาน ได้สำเร็จพระโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
นี่แสดงว่าเรื่อง ฌาน - สมาธิมัคคปฏิบัติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระกิเลสอารมณ์ เครื่องเศร้าหมองออกจากจิต จิตจึงบริสุทธิ์ ความรู้อันนี้จึงเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วก็ได้ธรรมอันบริสุทธิ์ของจริงของแท้ขึ้นมา
ดังคติธรรมที่ว่า
"ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ และสำเร็จได้ด้วยใจ"
แปลเป็นแบบไทยๆ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจของตน (ปัจจัตตัง) ฉะนั้น ใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่ง เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี
ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงนำเอาแนวปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงดำเนินมาแล้วนั้น มาสอนให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม กายกับใจเป็นของอาศัยกันอยู่ เมื่อจะกระทำความดีหรือความชั่วจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
การที่จะฝึกฝนชำระสะสางก็ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องอาศัยศีลเป็นเครื่องชำระซักฟอก ศีลที่จะมีสมรรถภาพสามารถฟอกกายให้สะอาดได้ ก็ต้องอาศัยใจมีเจตนางดเว้นในการทำความผิด ด้วยมีความรู้สึกเกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป
มนุษย์เราเกิดมาด้วยอำนาจบุญบาป ตกแต่งให้มาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วปัจจัยนิสัยเดิมมันตามมาคร่า ตามอำนาจนิสัยเดิม แล้วใจของเราก็ชอบเสียด้วยเพราะว่าติดในความเคยชินในความเป็นทาสของมัน
ฉะนั้นเมื่อจะรักษาศีล ก็มักจะอึดอัด ลังเลใจ เพราะกิเลสเป็นผู้บัญชาการอยู่ จิตเราจึงเดือดร้อนเพราะถูกกีดกันด้วยการรักษาศีล ดังนั้นศีลจึงให้โทษเป็นบาปแก่ผู้ขอสมาทานศีล จิตก็จะคอยแต่กาลเวลาให้หมดเขตของการรักษาศีล แม้ผู้บวชเป็นเณร เป็นพระก็เข้าทำนองนี้
ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจถึงการรักษาศีล หรือการปฏิบัติธรรมต่างๆ ว่าทุกอย่างนั้นสำเร็จด้วยใจ ด้วยความตั้งใจในการรักษาธรรมนั้นๆ ก่อนจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จึงควรมีศีลเป็นที่ตั้งเสียก่อน เพื่อให้กาย วาจา เกิดความบริสุทธิ์เสียก่อน แล้วใจจะบริสุทธิ์ตามมาอีกทีหนึ่ง จะทำให้การปฏิบัติสติปัฏฐานมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
สติปัฏฐาน 4 เป็นโลกุตตรธรรมและเป็นที่อบรมสติได้อย่างดี ประกอบด้วย
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ให้พิจารณากายนี้สักแต่ว่ากาย มิใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา
2. เวทนานุสติปัฏฐาน
ให้พิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้สักว่า เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว เป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่า ธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
สติปัฏฐาน 4 ถึงแม้ท่านจะจัดเข้าเป็นโลกุตตรธรรมแล้วก็ตาม ก็ยังต้องหมายเอาตัวของเราทุกๆ คนที่เป็นโลกียอยู่นี่เอง หมายความว่า การจะปฏิบัติให้ได้ สติปัฏฐาน 4 ได้ก็จำต้องเริ่มจากที่กายใจของเรา เหมือนกับต้องมีสิ่งสมมุติก่อน แล้วจึงจะพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เป็นอนัตตา
ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ขอให้พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า สติกับใจอยู่ด้วยกัน สติอยู่ตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น ฐานที่ตั้ง - ที่ฝึกอบรมสติ คือสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กาย - เวทนา - จิต - ธรรม นั่นเอง
อาตมาจะอธิบายเรื่องสติปัฏฐานสี่อีกนัยหนึ่งให้ฟัง สติปัฏฐานสี่ คือ
กายานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน ๑
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑
เป็น ๔ สติปัฏฐานแปลว่าที่ตั้งของการตั้งสติ การงานทั้งหมดไม่ว่าการงานของทางกายและทางจิต ต้องมีที่ตั้งการงานนั้นๆ จึงจะสำเร็จ เราจะทำการงานของจิต เราก็ตั้งลงที่สี่สถานนี้ คือ กาย ๑ เวทนา ๑ จิต ๑ ธรรม ๑ เมื่อตั้งลงในที่สี่สถานนี้แล้ว การงานนั้นย่อมสำเร็จแน่ (คือ ๗ ปีอย่างน้อยต้องได้ อนาคามี)
สติปัฏฐานสี่นี้เมื่อรวมแล้วก็มีสองเท่านั้น คือ รูปกับนาม กายเป็นรูปอยู่ตามเดิม เวทนา จิตและธรรมเป็นนาม ท่านให้พิจารณา (คือการทำงานของจิต) ว่ากายนี้สักแต่ว่ากายมิใช่ตัวตนเราเขา คือ เห็นสภาพของกายตามเป็นจริง
เมื่อมันเกิดเราก็ไม่ได้บอกให้มันเกิด มันหากเกิดเองตามบุญวาสนาตกแต่งให้ (คือ กรรม ตัณหา อุปาทาน อวิชชา)
เมื่อมันจะดับใครจะห้ามอย่างไรมันก็ไม่ฟัง เพราะสันตติไม่ติดต่อ คือ เครื่องหล่อเลี้ยงมันขาดไป ใครจะทำอย่างไรจะทำได้แต่กายนี้ ที่ยังเป็นอยู่เท่านั้นแหละ ส่วนกายที่จะต้องแตกสลายแล้วใครจะทำด้วยกรรมวิธีใดๆ ก็ไม่ฟัง ย่อมดับแตกสลายไปตามสภาพของมัน
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เห็นว่า กายนี้สักแต่ว่ากาย (คือ ของมนุษย์สัตว์เป็นอันเดียวกัน) มิใช่สัตว์ตัวตนเราเขา เช่น สภาพเกิดแล้วก็ดับอยู่อย่างนั้น
นาม คือ เวทนา จิต ธรรม ก็เช่นเดียวกัน เราบอกไม่ให้เกิดมันก็เกิดเองตามอายตนะ ภายในภายนอกสัมผัสกัน แล้วก็เกิดมาเอง เมื่อมันจะดับโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยมันก็ดับไปเอง กายดับกายแตกสลายไปเป็นอะไร เป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม
ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของใคร มันมาเกิดอีกก็ ดิน น้ำ ไฟ ลมของเก่านั่นแหละ ไม่ใช่ของใครทั้งนั้น
ส่วนจิตก็เหมือนกัน ผู้ไปคิด ไปนึก ไปปรุง ไปแต่ง เรียกว่า จิตยินดี ยินร้าย เกลียด โกรธ รัก ชังอะไรต่างๆ นั่นเป็นจิตเหมือนกัน เราไปยึดของพรรค์นั้นเป็นของเรา เราไม่ยึดก็เป็นของธรรมดาของเขาอยู่อย่างนั้น ไม่เป็นของใคร
การเห็นของจริงตามเป็นจริงแล้วสละความยึดถือว่าเป็นของเรา มันก็หมดเรื่องกันไป เรียกว่า พิจารณาสติปัฏฐานสี่ พระพุทธเจ้าท่านสอนก็สอนอย่างนี้ ใครจะสอนก็สอนไปเถิด สอนอย่างไร สอนที่ไหนก็สอนไป สอนเพื่อให้ละ ให้ทิ้งกาย ให้ทิ้งจิต ปล่อยวางกาย ปล่อยวางจิตเท่านั้น
การที่จะปล่อยวางกาย ปล่อยวางจิต จะทำอย่างไร เราต้องตั้งสติกำหนดจิตให้เข้มแข็งกล้าหาญที่สุด ต้องตั้งสติพิจารณาจิต พิจารณากาย เราทำอะไรทุกวันนี้
เดี๋ยวนี้เรามาสู่สถานที่นี้ เพื่อมาอบรมภาวนาสมาธิมิใช่หรือ มันต้องทำให้เต็มความสามารถของตัวเท่าที่จะทำได้ มิใช่มานอนเล่นตากแดดตากลมสบายเฉยๆ ไม่ใช่มาคุยกันเรื่องบ้านเรื่องเมือง เรื่องลูกเรื่องหลาน
เราต้องตั้งใจฝึกหัดอบรมจิตของเราจริงๆ จังๆ คุยก็ต้องคุยกันในเรื่องธรรมะธรรมโม สนทนากันในเรื่องธรรมะธรรมโม จึงสมควรจึงไม่เสียเวลา เรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ถ้าไม่อย่างนั้นเรียกว่า เป็นผู้ประมาททำเวลาล่วงเลยไปเฉยๆ หมดวันหมดคืนไป ไม่ใช่หมดแต่วันแต่คืน อายุของเราก็หมดไปด้วย อย่าให้เสียเวลา
โอกาสที่จะได้มาทำมันหายาก เราอยู่บ้านอยู่เรือนเรายุ่งด้วยภาระกิจต่างๆ ร้อยแปดพันเก้ายากที่จะได้คิดถึงเรื่องภาวนา วันหนึ่งๆ จะคิดถึงเรื่องภาวนาสัก ๕ นาทีก็แสนยาก
เหตุนั้น เมื่อมาถึงที่เช่นนี้แล้ว ทำให้จริงๆ จังๆ ศาสนาไม่ใช่สอนเฉยๆ สอนให้ทำ การทำย่อมได้สำเร็จผลประโยชน์ ทำอะไรก็ทำไปเถิด ไม่ว่าภายนอกภายในถ้าทำแล้วก็สำเร็จประโยชน์ทั้งนั้นไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะการทำกัมมัฏฐานให้พิจารณากายกับจิตเท่านี้แหละ ให้พิจารณาถึงกายถึงจิตดังที่อธิบายมานี้
พิจารณาจิต ให้เห็นจิต ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง หรือสัญญาอารมณ์ต่างๆ เรียกว่า จิตทั้งหมด ถ้าเราเอาสติเข้าไปคุมจิต จิตที่ว่า เป็นของเร็วที่สุด เมื่อเอาสติเข้าไปควบคุมแล้วมันก็จะช้าลงทันที มันคิดอะไรก็เห็น มันปรุงแต่งอะไรก็เห็น คราวนี้เราจะให้มันคิดก็ได้ จะไม่คิดก็ได้ เรียกว่า เราควบคุมจิตอยู่ในอำนาจของเราได้แล้ว
ไม่ใช้ให้จิตคุมเรา ถ้าจิตคุมเราๆ ไม่รู้ตัวหรอก มันไปร้อยแปดพันประการ มันคุมให้รัก ให้โกรธ ให้เกลียด ให้ชัง ทำไปได้หมดทุกสิ่งทุกอย่างเพราะเราคุมจิตไม่ได้ จิตมันคุมเรา ให้ชอบ ให้โกง ให้ลักให้ขโมย ไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง จิตคุมเราต้องเป็นอย่างนั้น
ถ้าสติคุมจิตๆ มันอยู่ในอำนาจของเราแล้ว กรรมที่ชั่วเราก็ไม่ทำ เราทำแต่กรรมที่ดีที่ชอบ ทำแต่ที่เป็นบุญเป็นกุศล ทำให้จิตเพลิดเพลินสนุกสนานแต่ความดีละซี มันจะมีทุกข์โศกอะไร มีแต่จะอิ่มเอิบไปกับคุณงามความดีละซี อันนั้นละจึงจะได้ชื่อว่าแสวงหาบุญ หากุศล หาผลประโยชน์ใส่ตัวแท้ เรียกว่า คุมจิตอยู่
จิต มีอันเดียวไม่มีมาก ตัวเดียวเท่านั้น ควบคุมจิต คือ เลือกแต่จิต อาการของจิตไม่เอาแล้วมันจะรวมมาเป็นใจ โดยที่เราไม่ตั้งใจจะให้รวม มันมารวมเอง เมื่อมันรวมมาเป็นใจแล้วจะรู้สึกตัวเอง
ใจคือผู้รู้สึกเฉยๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่งทั้งหมด หัดพิจารณาให้เห็นกาย ให้เห็นจิต ให้ถึงใจทั้งสามประการนี้ เราปฏิบัติพระพุทธศาสนาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือ ปฏิบัติทั้งสามอย่างนี้เอง
นอกเหนือจากนี้แล้วไม่มี สติเป็นผู้ควบคุมจิต (คือ ผู้คิด-นึก-ปรุง-แต่ง) ไม่ต้องไปควบคุมใจ (คือ ผู้รู้สึกเฉยๆ แต่ไม่ปรุงแต่ง) เมื่อคุมจิตได้แล้วมันจะรวมเข้ามาเป็นใจ คราวนี้สติและจิตจะรวมเข้าเป็นใจอันเดียวกัน การปฏิบัติพระพุทธศาสนาถึงที่สุดเพียงเท่านี้
ใครจะปฏิบัติอย่างไรๆ ก็เอาเถิดจะมารวมลงจุดเดียวที่ใจเท่านั้น แต่ความรู้สึกพิสดารนอกเหนือจากนี้ยังมีอีกเยอะ ที่ใจนั่นมิใช่ที่จะให้เกิดความรู้ เป็นแต่เพียงจุดรวมเท่านั้น ผู้ปฏิบัติถึงขั้นนั้นแล้วหากจะเข้าใจด้วยตนเอง
การนั่งสมาธิ
ฟังแล้วทำ เรียกว่า ฟังธรรม คือทำตามนั่นเอง ฟังเทศน์ คือบอกสอนแล้วก็แล้วไป ไม่ได้ทำตาม ฟังแล้วไม่ทำตามก็ไม่ได้ประโยชน์ ฟังไปเฉยๆ ฟังมาแล้วมากมายเก็บกองๆ ไว้ ตายไปแล้วเลยทิ้งเสียเปล่าๆ
ถ้าหากฟังธรรมแล้ว ฟังคำเดียวเท่านั้นแหละมันถึงใจเลย ปฏิบัติอันเดียวเท่านั้นหมดเรื่อง พุทธศาสนาไม่ต้องมีมากมาย มรรคมีองค์แปดรวมกันเป็นหนึ่ง มรรคเป็นหนึ่งแต่ความเป็นหนึ่งนั้นกว้างขวางกว่าเรียนเป็นไหนๆ ข้อสำคัญเมื่อถึงหลักธรรมแล้ว อุบายแยบคายต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นมาเอง เอาอันเดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปหา
คนหาคือคนไม่เห็นจึงต้องหา คนเห็นแล้วไม่ต้องหา อาจารย์นั้นก็ดี อาจารย์นี้ก็ดี อุบายธรรมะคนนั้นก็ดี คนนี้ก็ดี บริกรรมอันนั้นก็ไม่ถูกกับจริตนิสัยของตน โอย ไม่ไหวแล้ว เหตุนั้นแหละ พวกฝึกหัดปฏิบัติทั้งหลายมันจึงไม่ถึงธรรม หากันอยู่อย่างนั้นแหละ
ถ้าเราปฏิบัติกันจริงๆ อันเดียวเท่านั้นแหละเป็นถึงธรรมเลย พุทโธ อันเดียวเท่านั้นล่ะ จิตแน่วลงไปอันเดียว พุทโธไม่ต้องไปเอาอื่นใด
พุทโธไม่ต้องสัมมาอรหัง ไม่ต้องยุบหนอพองหนอ
พุทโธอยู่ตรงไหนจิตใจให้แน่วแน่ลงในพุทโธ เห็นใจแน่วแน่อยู่ในที่นั้นอันเดียวนั่นแหละจะเห็นคุณของพระพุทธเจ้า
คุณของพระองค์มากมายเหลือประมาณจนเกิดความรู้ถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาว่า พระองค์รู้แจ้งแทงตลอดทุกสิ่งทุกประการ ไม่มีสิ่งขัดข้อง เห็นคุณของพระพุทธเจ้า เห็นประโยชน์ในการทำพุทโธอันเดียว
เราว่าแต่พุทโธๆ บ่นแต่พุทโธ บ่นไปถึงไหนก็ไปเถิด ไม่ถึงพุทโธสักที เมื่อถึงพุทโธ ๆ เลยหายยังเหลือแต่พุทธคุณ ยังเหลือแต่ความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในขณะนั้นนั่นแหละ
ธรรมที่เทศนาให้ฟังนั้นมากมายก็เพื่อประกอบอุบายภาวนาเท่านั้น
จับอันใดอันหนึ่งชัดจริงแจ้งลงไปแล้ว เป็นอันว่าได้ความเลย
ครั้งพุทธกาลพระภิกษุองค์หนึ่งไปนั่งภาวนาอยู่ริมสระ เห็นนกกระยางกินปลาเท่านั้นล่ะ เอามาเป็นคำบริกรรมยังได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน ไม่เห็นจะต้องเรียนมากอย่างพวกเรา
เหตุนั้น เมื่อภาวนาไม่ต้องเอามากมาย เอาอันเดียวก็พอ เอาอะไรก็ตั้งใจจริงๆ จัง ๆ ลงให้แน่วแน่เดี๋ยวจะเป็นพาวนไปฉิบ
สติปัฏฐานสี่
เทศน์เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๒
สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้จักการฟังธรรมะการสดับรับฟังที่จะก่อให้เกิดความสงบให้เกิดอานิสงส์นั้น
ถ้าไม่เคยฟัง หรือเคยมีใครบอกสอนตักเตือนเราก็ไม่ทราบว่ามันจะเกิดผลเกิดประโยชน์ได้อย่างไรและการฟังนั้นจะฟังแบบไหน
จึงจะเกิดอานิสงส์ให้ ทางศาสนา ทางธรรมะป่า
ทางกรรมฐาน ท่านเทศน์ท่านสอนแนะนำกัน
ในการฟังว่าคือ
การนั่งภาวนาไปในตัว กำหนดจิตให้อยู่เฉพาะหน้า ไม่ให้ส่งไปในอดีต
อนาคตที่เคยผ่านมา การงานอะไรที่เราเคยทำค้างไว้ก็ไม่ต้องไปเกี่ยวยุ่ง
เพราะระยะที่เรานั่งฟังธรรมนั้นไม่มีธุระหน้าที่ กายก็ไม่ได้ไปทำงาน
วาจาก็ไม่ได้พูด จิตก็ห้ามไม่ให้คิดไปในอดีตอนาคต
จะกำหนด พุทโธ พุทโธ อยู่ภายในทำให้จิตให้ใจสัมผัสกับบทบริกรรมของตนก็ได้
จะกำหนดลมหายใจเข้าออกของตัวก็ถูก
แล้วแต่อัธยาศัยของใครชอบอะไร
แล้วดึงใจของตัวที่คิดปรุงนั้นถอยกลับคืนมาจากที่ปรุงที่แต่งของมัน คือถอยเข้ามาภายใน
เข้ามาหาดวงใจของตัว เมื่อเราตั้งใจไว้อย่างนั้น
ท่านแสดงธรรมะอะไร ธรรมะที่ท่านแสดงออกไปนั้น
ก็จะไปสัมผัสกับจิตของเราที่ตั้งเอาไว้ โดยไม่ต้องส่งใจไปคิดว่าท่านจะเทศน์อะไร จะสอนอะไร นั่น...เป็นหน้าที่ของท่าน
หน้าที่ของเราให้ตั้งจิตไว้เฉพาะหน้า
เมื่อธรรมะไปสัมผัส
ก็เหมือนกันกับเด็กที่ถูกพี่เลี้ยงหรือแม่กล่อม ผลที่สุดก็หลับได้ นี่..
จิตที่เคยส่ายแส่ไปตามกระแสอารมณ์สัญญา
ต่าง
ๆ เมื่อเราตั้งเอาไว้เฉพาะหน้า ธรรมะที่ท่านแสดงไปนั้นก็จะไปสัมผัส สัมผัสเข้า
สัมผัสเข้า ใจของเราก็ค่อยผ่องใส ใจของเราก็คอยสงบค่อยเย็นลงไป
นี่คือ การเห็นอานิสงส์จากการทำของตนไม่อย่างนั้นพอท่านเทศน์ออกไป
เราก็มีความคิดความนึกอย่างนั้น อย่างนี้
ปรุงไป คิดไป ตำหนิท่านว่าเท่านี้ไม่ถูกจริตนิสัย ตำหนิอย่างนั้น
ตำหนิอย่างนี้เรื่อยไป ใจแบบนั้นไม่มีวันสงบระงับ เราจึงต้องรักษาโดยให้ถือว่า
เป็นการภาวนาในตัว
การอบรมธรรมะ
การแนะสอนธรรมะคือการฝึกอบรมจิตใจที่ฟุ้งปรุงออกไปให้สงบระงับด้วยการระวังรักษาสังวรจิตของตัว
ตาที่ไม่ได้เห็นรูปที่ยั่วยวนจิตใจ
หูก็ไม่ได้ไปฟังเสียงที่ยั่วยวนกิเลส มีแต่จิตมันจะคิดจะปรุงไปเรื่องข้างนอก
เราจึงระวังรักษาเอาไว้ในขณะที่ฟังธรรมนั้นมันมีอยู่ในทุกท่านทุกคนไป
แต่คนที่ไม่รู้ธรรม ไม่เห็นธรรมก็เพราะเหตุว่าคนนั้นไม่สนใจ
หรือไม่ฉลาดนำธรรมะมาปรับปรุงกายใจของตัว
กายใจจึงชั่ว กายใจจึงเสีย ตัวเองก็เกิดทุกข์เกิดโทษ
คนอื่นเขาก็เหม็น ก็เบื่อ นี่คือ คนที่ไม่สังวรระวังกาย วาจา ใจของตัว ไม่มีธรรมะเข้าช่วยเหลือ ไม่มีธรรมะรักษา กายใจจึงเป็นบ้าเป็นบอไปอย่างนั้น
คนอื่นเขาก็เหม็น ก็เบื่อ นี่คือ คนที่ไม่สังวรระวังกาย วาจา ใจของตัว ไม่มีธรรมะเข้าช่วยเหลือ ไม่มีธรรมะรักษา กายใจจึงเป็นบ้าเป็นบอไปอย่างนั้น
ถ้าหากเรานำธรรมะมาพินิจพิจารณา
มารักษา สิ่งใดที่ชั่ว ที่เสีย ที่เดือดร้อนวุ่นวาย
ตนเองก็ทราบว่าจิตคิดไปแบบนี้เป็นจิตที่ไม่มีความสุขความสบาย
เป็นจิตอิจฉาเบียดเบียนผู้อื่น
สัตว์อื่นเป็นจิตที่เพลิดเพลินไปในกามารมณ์ไปในทางโลกไม่ใช่จิตที่คิดเพื่อแก้ไขกิเลสตัณหาของใจ
คิดไปเท่าไรก็ยิ่งเดือดร้อน คิดไปเท่าไรก็ยิ่งวุ่นวาย
ให้เราทราบอารมณ์ของใจของตัว
ถ้าไม่ทราบเรื่องอารมณ์ของใจ
ปล่อยให้มันคิดเรื่องไป มันก็ทำความเดือดร้อนวุ่นวาย ก่อกวนตัวเองเรื่อย
ไปเพราะส่วนใหญ่ไฟมันเกิดขึ้นจากก้านไม้ขีดก้านเดียวเท่านั้น
แต่เราไม่รีบระงับดับเอาไว้
มันก็ไหม้ก็เผาสิ่งที่มีคุณค่าของเราเสียหายป่นปี้ไปหมด เช่นไหม้บ้าน ไหม้ช่องต่าง
ๆ
นี่คือเหตุที่เจ้าของประมาท ไม่ดู ไม่รักษา มันจึงไหม้จึงเผาบ้านช่องข้าวของเสียหายไปได้
นี่คือเหตุที่เจ้าของประมาท ไม่ดู ไม่รักษา มันจึงไหม้จึงเผาบ้านช่องข้าวของเสียหายไปได้
กิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นกับใจก็ทำนองเดียวกัน
เราประมาทไม่ระวังรักษา เห็นว่านิด ๆ หน่อย ๆ ไม่เป็นไร ความจริง ของนิดหน่อย
เป็นของใหญ่ ไม่ใช่ของมันใหญ่มาแต่เดิม มัน นิดหน่อย เสียก่อน เช่นคนก็เป็นเด็กมาเสียก่อนจึงเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่ว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วจะกลายไปเป็นเด็ก มันเป็นเด็กมาก่อน ของน้อยเมื่อเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ บำรุงอยู่เรื่อย ๆ มันก็มากขึ้น
เป็นของใหญ่ ไม่ใช่ของมันใหญ่มาแต่เดิม มัน นิดหน่อย เสียก่อน เช่นคนก็เป็นเด็กมาเสียก่อนจึงเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่ว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วจะกลายไปเป็นเด็ก มันเป็นเด็กมาก่อน ของน้อยเมื่อเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ บำรุงอยู่เรื่อย ๆ มันก็มากขึ้น
นี่ คือ เรื่องความชั่วความเสียที่เราทุกคนได้รับทุกข์โทษมันก็เหมือนกัน
เกิดขึ้นจากสิ่งนิดหน่อยเสียก่อน เช่น ฝุ่นละอองที่เข้าตาของเรา
มันก็นิด ๆ หน่อย ๆ แต่ก็ทำให้ตาเสีย ตาบอดตามัวไปได้ ขอนไม้ตอไม้ ไม้ซุงทั้งท่อน
ไม่เคยเข้าตาของคน
สิ่งที่ทำให้เราเท้าแตก
หัวแม่ตีนแตก ก็สะดุดของเล็ก ๆ น้อย ๆ ต้นไม้ใหญ่ ๆ โต ๆ เราไม่โดน เพราะเราเห็น
ฉะนั้นท่านจึงไม่ให้ประมาทเรื่องความชั่วความเสียนิดหน่อย
ว่าจะไม่ให้โทษให้ทุกข์แก่ตัว รีบระงับดับเอาไว้ เมื่อทราบในวาระจิตที่คิดปรุงไปในทางชั่วทางเสีย
นี่คือการระวังรักษาจิตของตัว ระวังอยู่ทุกระยะทุกเวลา สิ่งใดที่มันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนวุ่นวาย แผดเผาตัวของตัว ให้ละในสิ่งนั้น อย่าไปคิด จะทำ จะพูด
การรักษาใจ
รักษายากยิ่งกว่าสิ่งทั่วไปในโลก เพราะใจเป็นนามธรรม เป็นของละเอียด
แต่เมื่อรักษาได้ ไม่มีอะไรที่จะประเสริฐวิเศษเท่ากับเรื่องของใจ
ไม่มีอะไรที่จะมีคุณค่าสูงเหมือนการรักษาใจให้ปลอดภัยไปจากกิเลสตัณหา
แม้การรักษาใจจะยากยิ่งแต่ก็ไม่เหลือวิสัย
สำหรับผู้ที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจะต้องเห็น ต้องเป็น ต้องรู้ เพราะเราเอาใจใส่
ตั้งใจปฏิบัติจริงจังทางธรรมะ หลักของธรรมะที่ท่านกล่าวเอาไว้
เป็นการให้ศึกษา ท่านว่าอิทธิบาทคือสิ่งที่จะทำบุคคลนั้น ๆ
ให้สำเร็จผลตามที่ตนปรารถนา
อิทธิบาทก็อยู่ในองค์ของโพชฌงค์
องค์ของโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่จะออกจากโลก คนใดที่เจริญอิทธิบาท
สิ่งที่ตัวใฝ่ฝันนั้นจะได้ตามปรารถนา
อิทธิบาท
นั้น ท่านพูดย่อ ๆ เป็นศัพท์บาลีไว้ว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ฉันทะ
คือ ให้พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ถ้าชาวโลกเขาพอใจรักใคร่ในสิ่งใด เขาก็ไฝฝัน
ไม่เบื่อหน่าย ยินดีที่จะทำ ที่จะพูด ที่จะคิดสิ่งนั้น
เพราะความพอใจ
ความพอใจจึงเป็นแรงสำคัญเป็นสิ่งที่เชื่อมั่นในจิตในใจ เพราะเราพอใจ เราย่อมทำได้ ไม่เบื่อหน่าย เรียกว่า ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ เช่น พอใจรักใคร่ในการกำหนดลมหายใจ ไม่เบื่อหน่ายในการกำหนด อารมณ์สัญญาอะไรเกิดขึ้น ผ่านมาก็ไม่เกี่ยวข้อง หรือ มีความพอใจรักใคร่ในการบริกรรมพุทโธ พุทโธ อารมณ์อื่นหมื่นแสนเกิดขึ้นก็ไม่ติดตามเกี่ยวข้อง
ความพอใจจึงเป็นแรงสำคัญเป็นสิ่งที่เชื่อมั่นในจิตในใจ เพราะเราพอใจ เราย่อมทำได้ ไม่เบื่อหน่าย เรียกว่า ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ เช่น พอใจรักใคร่ในการกำหนดลมหายใจ ไม่เบื่อหน่ายในการกำหนด อารมณ์สัญญาอะไรเกิดขึ้น ผ่านมาก็ไม่เกี่ยวข้อง หรือ มีความพอใจรักใคร่ในการบริกรรมพุทโธ พุทโธ อารมณ์อื่นหมื่นแสนเกิดขึ้นก็ไม่ติดตามเกี่ยวข้อง
คนเช่นนั้นย่อมมีจิตสงบระงับได้
เพราะพอใจในกรรมฐานของตัว พอใจในคาบริกรรมของตัว ถ้าหากไม่พอใจทำอะไรก็ไม่พอใจ
ทิ้งขว้างเรื่อยไป
คนนั้นทำอะไรก็ไม่สำเร็จให้ ฉะนั้น ฉันทะ ความพอใจรักใคร่จึงเป็นตัวจักรใหญ่สำคัญ
ตัวเบื้องต้นเมื่อมีฉันทะ
ความรักใคร่
วิริยะ ความพากเพียร มันก็เกิดขึ้น ทำอย่างไรเราถึงจะได้
ทำอย่างไรเราถึงจะสำเร็จ ทำอย่างไรถึงจะเห็น จะเป็น
จะรู้ มันจะต้องมีความพยายาม ถึงเหน็ดเหนื่อยเมื่อย หิว ลำบากยากเย็น
ก็พยายามไม่ทอดทิ้ง เอาใจใส่ ตั้งใจทำ ตั้งใจปฏิบัตินี่แหละเรียกว่า
วิริยะ
เมื่อยังมีชีวิตเป็นอยู่ จะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้ได้ ลำบากยากเย็นขนาดไหนก็ไม่ท้อถอย ตั้งหน้าจะทำเอาชีวิตเป็นแดน นี่คือผู้ที่มีวิริยะแรงกล้าเป็นอย่างนั้น
เมื่อยังมีชีวิตเป็นอยู่ จะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้ได้ ลำบากยากเย็นขนาดไหนก็ไม่ท้อถอย ตั้งหน้าจะทำเอาชีวิตเป็นแดน นี่คือผู้ที่มีวิริยะแรงกล้าเป็นอย่างนั้น
จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ไม่ทอดธุระ
ไม่ทอดทิ้งสิ่งที่ตัวทำ ตัวบริกรรม ถ้าทางโลกก็เป็นเรื่องทำทางโลก
ถ้าเป็นเรื่องของธรรม ก็เป็นเรื่องการดูรักษาจิตใจของตัว
มันเผลอเรอ หรือ มันติดตามอารมณ์อะไร หรือ มันยังคงเส้นคงวาอยู่กับคำบริกรรม
หรือการกำหนดของตัว ตรวจตราพิจารณาอยู่เรื่อย
ๆ เอาใจฝักใฝ่ดูแลรักษา ไม่วางธุระ ไม่ทอดทิ้ง เรียกว่า จิตตะ
วิมังสา ตรวจตรา
พินิจพิจารณาในสิ่งที่ตัวกระทำอยู่นั้น ว่ามันผิดถูกชั่วดีอย่างไร
เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้มันถูกต้อง ให้มันดีงาม
คนที่มีอิทธิบาททั้งสี่ประจำอยู่ในจิต
ไม่ว่าจะทำการงานชนิดใด หยาบละเอียด ยากง่ายขนาดไหน คนนั้นจะทำสำเร็จไปได้ ท่านจึงว่า
อิทธิบาท คือ มีอิทธิฤทธิ์
สามารถที่จะทำสิ่งที่ตนปรารถนาให้สำเร็จไปได้ตามความต้องการ
คนที่ปฏิบัติไม่เห็นไม่เป็น ทำอะไรไม่สำเร็จลุล่วงไป ก็เพราะใจขาดอิทธิบาท ถ้ามีอิทธิบาททั้งสี่อยู่ในจิตในใจคนใดแล้ว ไม่ว่าฝ่ายโลก ไม่ว่าฝ่ายธรรม เขาคนนั้นทำอะไรจะต้องสำเร็จตามความประสงค์ของเขา
คนที่ปฏิบัติไม่เห็นไม่เป็น ทำอะไรไม่สำเร็จลุล่วงไป ก็เพราะใจขาดอิทธิบาท ถ้ามีอิทธิบาททั้งสี่อยู่ในจิตในใจคนใดแล้ว ไม่ว่าฝ่ายโลก ไม่ว่าฝ่ายธรรม เขาคนนั้นทำอะไรจะต้องสำเร็จตามความประสงค์ของเขา
นี่จึงเป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนพวกนักปฏิบัติ ให้ทำจริงในสิ่งที่ตัวอยากเห็น
อยากรู้
ถ้าไม่ทำจริง
ผลที่เป็นจริงก็ไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น การทำจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องอาศัยบทธรรมของพระพุทธเจ้าเข้ากำกับเป็นเส้นทางเดิน
เป็นเข็มทิศ นำจิตนำใจให้ไปสู่ทิศสู่ทางที่ตนมุ่งหวังได้
ถ้าหากจะพูดถึงความเดือดร้อนวุ่นวาย พูดถึงความสบายสงบ
มันก็ไม่ใช่เรื่องอันอื่น นอกไปจากเรื่องของจิต จิตเป็นตัวการสำคัญ
ถ้าจิตชั่วจิตเสีย จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตเกิดราคะตัณหา
คือจิตเป็นไปในทางชั่วทางเสีย ทางต่ำแบบนั้น ถึงร่างกายของเราจะอยู่สบาย แต่จิตก็วุ่นวายเดือดร้อน
เพราะสิ่งเหล่านั้นท่านเรียกว่ากิเลส
กิเลสนี้
ผู้ที่มีสติปัญญา ผู้ที่มีธรรมะ ท่านขยะแขยง ท่านกลัวมาก กลัวยิ่งกว่าสิ่งทั่วไป เพราะโรคอันที่เป็นโรคของกายนั้น
เรารักษาไม่หายตายมันก็หมดไป
ไม่เป็นพิษเป็นภัย รักษาไม่หายมันก็ไปแค่ถึงตายเท่านั้น ไม่เลยนั้นไป
แต่เรื่องกิเลสตัณหาซึ่งสิงซ่อนอยู่ในจิตในใจ ถ้าเราไม่ละ ไม่แก้ไข ไม่บำเพ็ญให้เห็น ให้รู้ ให้หลุด ให้พ้นไปแล้ว เราตายไปก็สักแต่ว่ากายตายไป จิตใจที่ยังมีกิเลสตัณหานั้น จะก่อภพก่อชาติใหม่ แล้วจะยุ่งเหยิงวุ่นวาย รบกวนตัวเองอยู่เรื่อยไป ท่านจึงกลัวมากกว่าเรื่องโรคของกาย
แต่เรื่องกิเลสตัณหาซึ่งสิงซ่อนอยู่ในจิตในใจ ถ้าเราไม่ละ ไม่แก้ไข ไม่บำเพ็ญให้เห็น ให้รู้ ให้หลุด ให้พ้นไปแล้ว เราตายไปก็สักแต่ว่ากายตายไป จิตใจที่ยังมีกิเลสตัณหานั้น จะก่อภพก่อชาติใหม่ แล้วจะยุ่งเหยิงวุ่นวาย รบกวนตัวเองอยู่เรื่อยไป ท่านจึงกลัวมากกว่าเรื่องโรคของกาย
ผู้ที่เห็นกิเลสตัณหาเป็นสิ่งที่น่ากลัว
น่าเบื่อหน่าย ท่านจึงตั้งหน้าตั้งตา ภาวนาหาทางที่จะแก้ไขใจที่ชั่วที่เสียนั้น ๆ
ให้หลุดให้ตกออกไป ด้วยอุบายวิธีธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้
โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
ถ้าหากไม่มีอุบายปัญญารักษาใจของตัวแล้ว คนนั้นถึงจะอยู่เป็นพระเป็นเณร จะบวชมาหลายพรรษา ก็หาสาระทางจิตทางใจไม่ได้ มีจิตใจวุ่นวายเดือดร้อนแส่ส่าย กวัดแกว่งไปตามสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ หาทางสงบเย็นในจิตในใจไม่มี ตัวของตัวก็ตำหนิ
ทำไมจิตจึงเป็นอย่างนี้ ซึ่งเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แต่มันก็เกิด ก็เป็นขึ้นในจิตในใจของเรา เพราะเราไม่รักษา เราไม่ชำระมัน ถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาชำระรักษาจิตจริงจังแล้ว ทุกคนไปก็จะมีความสงบ ความเยือกเย็น ความผ่องใส
ถ้าหากไม่มีอุบายปัญญารักษาใจของตัวแล้ว คนนั้นถึงจะอยู่เป็นพระเป็นเณร จะบวชมาหลายพรรษา ก็หาสาระทางจิตทางใจไม่ได้ มีจิตใจวุ่นวายเดือดร้อนแส่ส่าย กวัดแกว่งไปตามสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ หาทางสงบเย็นในจิตในใจไม่มี ตัวของตัวก็ตำหนิ
ทำไมจิตจึงเป็นอย่างนี้ ซึ่งเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แต่มันก็เกิด ก็เป็นขึ้นในจิตในใจของเรา เพราะเราไม่รักษา เราไม่ชำระมัน ถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาชำระรักษาจิตจริงจังแล้ว ทุกคนไปก็จะมีความสงบ ความเยือกเย็น ความผ่องใส
การรักษาจิต การพิจารณาธรรมะเพื่อชำระจิต
ข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่า เมื่อทุกคนตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติรักษาตามธรรมะที่สอนไว้ คนนั้นจะเป็นคนดิบคนดี
มีคติเป็นสอง คือเป็นอนาคามีบุคคล พ้นไปจากกามราคะ ปฏิฆะ คือความใคร่คิดติดข้อง กำหนัดยินดีในเพศตรงข้าม จะไม่มีในวาระจิตของท่าน ความหงุดหงิดในจิตในใจ เป็นไปเพื่อความโกรธก็จะไม่เกิดไม่มีขึ้น
มีคติเป็นสอง คือเป็นอนาคามีบุคคล พ้นไปจากกามราคะ ปฏิฆะ คือความใคร่คิดติดข้อง กำหนัดยินดีในเพศตรงข้าม จะไม่มีในวาระจิตของท่าน ความหงุดหงิดในจิตในใจ เป็นไปเพื่อความโกรธก็จะไม่เกิดไม่มีขึ้น
หรือหากมีปัญญาคมกล้า ตัดอวิชชาได้หมด ก็เป็นอรหัตบุคคล
สิ้นกิเลสอาสวะทั้งปวง ถ้าตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติรักษาจริงจัง ท่านรับรองว่าทุกคนไปอย่างช้าไม่เกิน 7 ปี หรืออย่างเร็วก็ไม่เกิน 7 วัน
มันจะเป็นขึ้น เห็นขึ้น นี่แหละคือโอวาทที่ท่านแนะสอนเอาไว้
ผู้ที่พินิจพิจารณา
มีสติกำหนดรักษาจิตใจ ให้อยู่ในสติปัฏฐานทั้งสี่ หมายถึง
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณากายของเรา โดยส่วนใหญ่ก็พิจารณากายของตัวเอง
เพื่อแก้ไขใจที่ยึดถือ ที่ติดข้อง ที่หลงใหลใฝ่ฝัน
อย่างนั้นอย่างนี้ เกิดความยินดี เกิดความมัวเมาในเรื่องของกาย ท่านให้พิจารณากาย
สักแต่ว่ากาย ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย
ไม่ใช่ สัตว์บุคคล
พิจารณาอย่างไรใจจึงจะเห็นเป็นจริงอย่างนั้น
ก็พิจารณาตามดูทุกสิ่งทุกส่วน เช่น ผมก็ดี ขนก็ดี เล็บก็ดี ฟันก็ดี
หนังก็ดี สิ่งเหล่านี้เขาไม่เคยรับรอง เขาไม่เคยบอกกล่าวว่า เป็นหญิง เป็นชาย
เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา
ของเหล่านี้มันมีมาตามหน้าที่ของมัน
และจะแปรปรวนไปตามหน้าที่ของมัน จะแตกสลายไปตามหน้าที่ของมัน
ไม่เยื่อไยเชื่อฟังบุคคลใด ถึงจะมีอำนาจราชศักดิ์ใหญ่ขนาดไหน
ก็จะเป็นไปอย่างนั้น ไม่มีกลัวอำนาจวาสนาอิทธิพลของใคร
ความเป็นไปของสิ่งเหล่านี้มันเป็นไปอยู่อย่างนั้น
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา
เราจะพิจารณาให้รู้ให้เห็น
มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น เราไม่เห็น มันก็เป็นไปอยู่อย่างนั้น
ให้พิจารณากันให้ทั่วถึงในเรื่องของกาย หนัง มันก็ไม่ได้บอกว่ามันเป็นหนัง
แต่ความสมมติของเราว่าหนัง แล้วเราก็ไปยึดสมมตินั้นว่าเป็นเรา เป็นของของเราไปเสีย
แต่มันไม่ได้เคยพูดกับเราว่า
ฉันเป็นหนัง ฉันเป็นของคุณนะ คุณด้องรักษาดูแลฉันให้ดีนะ มันไม่เคยพูด หรือเคยว่า
เรื่องของหนังเนื้อ เอ็น กระดูก ก็ทำนองเดียวกันนี่ใช้พิจารณาเพื่อความถอนจิตใจที่ยึดมั่น ว่าเป็นเขาเป็นเรา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
เพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราเขา มันเป็นหน้าที่ของมันต่างหาก
ถ้าหากเป็นตัวของเราจริงจัง
เราจะต้องบอกได้ สอนได้ ไม่ให้มันแก่ มันเจ็บ มันตาย มันก็ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
เพราะเราสอนมันได้ มันเป็นของของเรา
เราหักห้ามมันได้ นี่...มันไม่เป็นเช่นนั้น หักห้ามมันไม่ได้ ใครรู้เรื่องของมัน
มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
ใครไม่รู้เรื่องของมัน
มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น ผู้รู้ถึงฐานของมันจริงจังไม่ได้ไปยึด ไม่ได้ไปถือ
เพราะทราบดีว่าสิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้น มันแปรปรวน มันแตกสลายไปเมื่อถึงกาลถึงสมัย
แทนที่จะเสียอกเสียใจเพราะเรื่องกายมันแตกมันทำลายไป มันไม่เป็นอย่างนั้น
มันไม่เสียอกเสียใจอะไร
เพราะทราบแล้ว เข้าใจแล้ว ความจริงมันเป็นอย่างไร เราเข้าใจชัดเจน
นี่ก็เป็นเรื่องการพิจารณากาย
เพื่อถอดถอนความยึดมั่นสำคัญหมายว่าเรา ว่าเขา ว่าสัตว์ ว่าบุคคล
ถ้าหากพิจารณาเห็นความเป็นจริงชัดเจนแล้ว ความไปกำหนัดยินดีกับเพศตรงกันข้ามมันจะไม่เกิดขึ้น
เพราะเหตุใด เพราะกายนี้เป็นก้อนของโรค โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นานา มาเกาะ มาอาศัย มีตา ก็มีโรคตา มีหู ก็มีโรคหู มีจมูก
ก็มีโรคในจมูก มีอะไรมีแต่โรค แต่ภัยเบียดเบียนทั่วไป ไม่มีสถานที่ไดที่จะไม่เกิดโรค มันเป็นทุกข์มันเป็นโทษ
เพราะเรื่องของกายอันนี้
ถ้าหากไม่มีกาย โรคมันก็ไม่มีที่พัก ที่อาศัย เหมือนกันกับไม่มีแผ่นดิน สัตว์ทั่วไปมันก็ไม่มีที่อาศัย
แผ่นดินเป็นที่อาศัยของสัตว์ กายก็เป็นที่อาศัยของโรค ทำนองเดียวกับการเกิด
ท่านจึง
เบื่อจึงหน่าย เพราะเกิดมาแล้ว
มันได้รับทุกข์รับโทษด้วยความเจ็บป่วยด้วยความแก่ ความตาย
นอกจากนั้น
พิจารณาเพื่อแก้ไขใจของตัวที่ไปยึดถือว่า มันสวยอย่างนั้น
มันงามอย่างนี้เมื่อเราแยกแยะออกไปตามหน้าที่ของมัน
ผมก็ดี
ขนก็ดี เล็บก็ดี ฟันก็ดี หนังก็ดี เอ็น กระดูก ตับไต ไส้พุง ข้างในก็ดี
ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ถ้าหากเป็นของคนแล้วไม่มีใครปรารถนา
ไม่มีใครชอบใจ ไม่มีใครยินดี แด่มันเป็นก้อนรวมกันอยู่ แล้วเอาหนังหุ้มห่อเอาไว้
ขัดถู ประดับประดาด้วยสิ่งต่าง ๆ นานา หลอกตาของคนที่โง่เขลาเบาปัญญา
ไม่ทราบว่าหนังมันห่อหุ้มของสกปรกโสมมอย่างไร เพราะไม่ได้พิจารณาเลยเข้าไปจากหนัง มันจึงเกิดความชอบพอ
ยินดีในรูปนั้น ๆ ว่ามันสวยสดงดงามอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้าตรวจตราพิจารณาเรื่องของกายตามเป็นจริง
กายนี้ถึงเราจะไม่สมมติ ไม่ให้ร้ายเขาว่าเขาสกปรก แต่ความจริงก็ก้อนของสกปรกจริง
ๆ จัง ๆ เช่นเรานั่งก็ดี นอนก็ดี นุ่งห่มอะไรก็ดี หรือเอาอะไรมาเกี่ยวข้องก็ดี
กายนี้จะทำความสกปรกให้แก่สิ่งนั้น ๆ เพราะก้อนของกายนี้เป็นของสกปรก
รั่วไหลออกมาจากกายนี้เรียก “ขี้” ทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นของดิบของดี จึงไปติดเปื้อนที่นั่งที่นอน
ผ้านุ่งผ้าห่ม ได้ซักได้ฟอกกันอยู่เรื่อย
ๆ เพราะมันเน่า มันเหม็น มันปฏิกูล นี่ ...คือการพิจารณาเพื่อละความกำหนัดยินดี
ถอดถอนความกำหนัดยินดี
ความกำหนัดยินดี
นั้นมันไม่ได้อยู่ในกาย กายนี้ไม่ทราบ แต่ใจมันบ้ามันบอ มันถือว่าตัวของมัน
เหมือนกันกับโจรมีอาวุธ มันก็กล้าที่จะไปปล้นไปจี้
สู้รบขบกัดกับคนอื่นได้ กายมันมีกำลังให้มันพักผ่อนหลับนอน ให้มันขบมันฉัน
สิ่งที่มีสาระแก่มัน มันอิ่มหนำสำราญ มันมีกำลังแล้วมันเลยคิดไปปรุงไป
เป็นเรื่องของใจ มันคิด มันปรุงไป
เราจะพิสูจน์ได้ประจักษ์ในใจก็คือ คนตายนั้นไม่ว่าหญิง ว่าชาย ไม่ว่าหนุ่มว่าสาว จะเป็นคนที่บ้ากามมาขนาดไหนก็ตาม ถ้าหากมันตายแล้ว เอาไปทิ้งเทินกันไว้ ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย ที่มันบ้าเรื่องกามนั้น มันจะไม่มีการทำอะไรกัน
เราจะพิสูจน์ได้ประจักษ์ในใจก็คือ คนตายนั้นไม่ว่าหญิง ว่าชาย ไม่ว่าหนุ่มว่าสาว จะเป็นคนที่บ้ากามมาขนาดไหนก็ตาม ถ้าหากมันตายแล้ว เอาไปทิ้งเทินกันไว้ ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย ที่มันบ้าเรื่องกามนั้น มันจะไม่มีการทำอะไรกัน
นี่แหละเรื่องของกายกับจิตมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นธาตุ
แล้วก็จะแปรปรวนแตกสลายลงไปสู่ธาตุเดิมของมัน ธาตุดินก็จะไปสู่ธาตุดิน ธาตุน้ำก็จะซึมซาบลงไป หรือเป็นไอขึ้นตามอากาศ
ธาตุไฟก็ไปตามเรื่องของมัน ลมก็ไปตามเรื่องของมัน
นี่แหละเมื่อเราแยกแยะพินิจพิจารณาดูให้ทั่วถึงถี่ถ้วนอย่างนั้น ให้ใจมันเห็นประจักษ์ชัดเจน มันจะยอมจำนนว่าอันนี้ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลจริงจังแต่จิตมันลุ่มมันหลง มันยึด มันถือต่างหาก มันจึงเกิดราคะตัณหา คือ มันไม่ทราบความจริงในสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริงของมัน
นี่แหละเมื่อเราแยกแยะพินิจพิจารณาดูให้ทั่วถึงถี่ถ้วนอย่างนั้น ให้ใจมันเห็นประจักษ์ชัดเจน มันจะยอมจำนนว่าอันนี้ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลจริงจังแต่จิตมันลุ่มมันหลง มันยึด มันถือต่างหาก มันจึงเกิดราคะตัณหา คือ มันไม่ทราบความจริงในสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริงของมัน
ถ้ามันทราบตามเป็นจริงของมันแล้ว จิตจะไม่หลง จิตจะสงบ
จิตจะเบื่อหน่ายในเรือนร่างกาย
จนบางท่านบางคนตามตำรับตำราพิจารณากายเห็นเป็น อสุภ อสุภํ เป็นก้อนมูตร ก้อนคูถ
หรือ เป็นก้อนโรคก้อนภัย ใจมันเห็นประจักษ์ชัดเจนจริงจังอย่างนั้น
เลยเบื่อหน่าย ฆ่าตัวตายก็มีทางศาสนาท่านจึงห้ามการทำอัตตฆาต คือฆ่าตัวเอง มันเบื่อหน่ายจนยอมฆ่าตัวตาย
เบื่อหน่ายแบบนั้นเบื่อหน่ายผิดทาง
พระธรรมวินัยให้ทราบตามเป็นจริงของมันว่า
สิ่งเหล่านั้นเราไม่ฆ่ามัน มันก็จะตายอยู่แล้ว มันอยู่ไม่ได้ถึงพันปีหมื่นปี
เมื่อมันเกิดขึ้นมามันก็แปรปรวนไป
แล้วแตกสลายตามหน้าที่ของมัน
ให้พิจารณาเรื่องของกาย ให้ทราบ ให้เห็นชัดเจนในจิตในใจของตัวว่า กายนี้สักแต่ว่ากาย ไม่มีหญิง ไม่มีชาย ไม่มีสัตว์ บุคคล จิตมาอาศัยก็หลงใหลยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราไป แต่ความจริงแล้ว กายนี้มันเป็นเรื่องของกายต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของจิต
ให้พิจารณาเรื่องของกาย ให้ทราบ ให้เห็นชัดเจนในจิตในใจของตัวว่า กายนี้สักแต่ว่ากาย ไม่มีหญิง ไม่มีชาย ไม่มีสัตว์ บุคคล จิตมาอาศัยก็หลงใหลยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราไป แต่ความจริงแล้ว กายนี้มันเป็นเรื่องของกายต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของจิต
เมื่อทราบชัดอย่างนั้น
เห็นชัดอย่างนั้นผู้ไปเห็นกายเป็นอย่างนั้นคือใคร มันจะทราบเข้ามาภายใน
มันจะเห็นภายใน แล้วแก้ไข เมื่อมันเห็นภายใน
มันประจักษ์ชัดเจนแล้ว ในเรื่องการงมงายมันก็หายจากการงมงายไป การหลงไป เพราะเรื่องของกายแท้
ๆ ไม่มีอะไร มันไม่เคยสุขเคยทุกข์
เคยเดือดร้อนวุ่นวาย ไม่เคยอยากได้สิ่งนั้น สิ่งนี้
หน้าที่ของกายจริงจัง ที่มันมีชีวิตชีวาเจริญมาก็เพราะเราบำรุงมัน เอาอาหารการขบฉันมาบำรุง ให้นุ่ง ให้ห่มเมื่อเวลาหนาว ให้อาบให้สรงเมื่อเวลาร้อน เราบำรุงมันไว้ มันจึงเจริญเติบโตมา และเมื่อเราหลงมัน มันก็ให้ทุกข์แก่เรา ถ้าเราไม่หลงมัน เราจะเอาประโยชน์แก่มัน ก็คือ
การพิจารณามัน แล้วก็พามันทำความพากความเพียร ไหว้พระสวดมนต์ ทำการบุญการกุศล ทำให้เกิดผลประโยชน์ ไม่ปล่อยให้กายเป็นหมันเป็นโมฆะ ในเมื่อเวลาเรายังมีลมหายใจ เป็นอยู่
หน้าที่ของกายจริงจัง ที่มันมีชีวิตชีวาเจริญมาก็เพราะเราบำรุงมัน เอาอาหารการขบฉันมาบำรุง ให้นุ่ง ให้ห่มเมื่อเวลาหนาว ให้อาบให้สรงเมื่อเวลาร้อน เราบำรุงมันไว้ มันจึงเจริญเติบโตมา และเมื่อเราหลงมัน มันก็ให้ทุกข์แก่เรา ถ้าเราไม่หลงมัน เราจะเอาประโยชน์แก่มัน ก็คือ
การพิจารณามัน แล้วก็พามันทำความพากความเพียร ไหว้พระสวดมนต์ ทำการบุญการกุศล ทำให้เกิดผลประโยชน์ ไม่ปล่อยให้กายเป็นหมันเป็นโมฆะ ในเมื่อเวลาเรายังมีลมหายใจ เป็นอยู่
นี่คือการพิจารณากาย
ในทางสติปัฏฐานให้พิจารณากายของตัวให้ทั่วไห้ถึง ให้เห็นชัดเจนแล้ว
กายของคนอื่นทั่วไปในโลก มันก็ไม่ผิดแผกแตกต่างอะไรกัน
สมมติที่ว่าคนแก่ คนหนุ่ม คนสาว หรือเด็ก มันเป็นสมมุติต่างหาก ความจริงแล้ว กายเมื่อเกิดขึ้น ถ้าหากไม่มีอุปสรรค มันก็เจริญตามหน้าที่ของมัน ได้ชื่อว่ามันแปรปรวน แปรปรวนไปหาที่ไหน ไปสู่ความแตกดับของมัน
ไม่ว่าปัจจุบันหรืออดีตที่ผ่านมา มันเป็นอยู่อย่างนั้น อนาคตที่จะเป็นต่อไปข้างหน้าก็เหมือนกัน มันไม่ลุ่มไม่หลง มันเข้าจิตเข้าใจเพราะการพิจารณาอย่างนี้ ทำให้เกิดปัญญาสามารถที่จะเด็ดขาดจากความยึดถือ จากความลุ่มหลง จากความเกาะเกี่ยวข้องใจ
เมื่อเราไม่ลุ่มหลงตัวของเราแล้ว คนอื่น สัตว์อื่น เราก็ไม่ลุ่มหลงเพราะเราเป็นอย่างไร เขาเป็นอย่างนั้น มันประจักษ์อยู่ในจิตในใจของผู้ปฏิบัติ เห็นชัดอย่างนั้น มันจึงละ จึงปล่อย จึงวาง เรื่องของกายได้ นี้เรียกว่า กายานุปัสสนา คือ พิจารณากายเพื่อให้เกิดปัญญาเพื่อให้ละให้ถอนความยึดถือติดข้องต่าง ๆ
สมมติที่ว่าคนแก่ คนหนุ่ม คนสาว หรือเด็ก มันเป็นสมมุติต่างหาก ความจริงแล้ว กายเมื่อเกิดขึ้น ถ้าหากไม่มีอุปสรรค มันก็เจริญตามหน้าที่ของมัน ได้ชื่อว่ามันแปรปรวน แปรปรวนไปหาที่ไหน ไปสู่ความแตกดับของมัน
ไม่ว่าปัจจุบันหรืออดีตที่ผ่านมา มันเป็นอยู่อย่างนั้น อนาคตที่จะเป็นต่อไปข้างหน้าก็เหมือนกัน มันไม่ลุ่มไม่หลง มันเข้าจิตเข้าใจเพราะการพิจารณาอย่างนี้ ทำให้เกิดปัญญาสามารถที่จะเด็ดขาดจากความยึดถือ จากความลุ่มหลง จากความเกาะเกี่ยวข้องใจ
เมื่อเราไม่ลุ่มหลงตัวของเราแล้ว คนอื่น สัตว์อื่น เราก็ไม่ลุ่มหลงเพราะเราเป็นอย่างไร เขาเป็นอย่างนั้น มันประจักษ์อยู่ในจิตในใจของผู้ปฏิบัติ เห็นชัดอย่างนั้น มันจึงละ จึงปล่อย จึงวาง เรื่องของกายได้ นี้เรียกว่า กายานุปัสสนา คือ พิจารณากายเพื่อให้เกิดปัญญาเพื่อให้ละให้ถอนความยึดถือติดข้องต่าง ๆ
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็หมายถึง พิจารณาสุข
ทุกข์ สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ นั้น ทุกท่านมีด้วยกันไม่ว่า ฆราวาส หรือ นักบวช แต่เราไม่ได้เอาใจใส่ว่าอันนี้เป็นธรรมะ เป็นยาที่จะแก้กิเลส
เราเลยมองข้ามเหยียบย่ำอยู่เรื่อยไป ไม่ทราบว่าสิ่งนั้นมันเป็นอะไร
เข้าใจว่าสิ่งนั้นมันเป็นเรา เป็นของเราไป เรามีในสิ่งนั้น
สิ่งนั้นมีในเรา อย่างที่ท่านกล่าวเอาไว้ ความจริงมันก็เป็นของมันไปอย่างนั้น เพราะเราไม่ได้พิจารณา มันจึงลุ่มหลง
ถ้าหากเราพิจารณา
มันก็พอพิจารณาได้ กายอันนี้หรือตัวอันนี้มันไม่ใช่สัตว์ บุคคลอีกเหมือนกัน
เป็นอาการอันหนึ่ง เมื่อกายกับจิตมาอยู่ด้วยกันแล้ว
สิ่งเหล่านี้มันจะเกิดมีขึ้น เรียกว่า เวทนา คือ บางทีก็สุข บางทีก็ทุกข์ บางทีก็เฉย
ๆ
เวทนานี้เป็นสิ่งปิดบังปัญญาของมนุษย์และสัตว์ทั่วไปมากเหมือนกัน
ทำให้หลงใหลใฝ่ฝันอยากได้สิ่งที่ชอบที่ปรารถนา เบื่อหน่าย ไม่ชอบพอสิ่งที่ตัวไม่ปรารถนา
เช่น
ที่เกิดขึ้นมา เราเบื่อ เราหน่าย เงินทองข้าวของมากมายขนาดไหนก็ยอมเสียสละ เพื่อจะให้เวทนาตัวทุกข์นั้นมันหมดไป หายไป ให้กายมันสุข มันสบาย ยอมขายบ้าน ขายเรือน ขายไร่ ขายนา
เงินทองมรดกที่บิดามารดาหามาไว้ ท่านล่วงลับดับไปก็ตกเป็นสมบัติของเรา ถือว่าสมบัติเหล่านั้นเป็นสมบัติที่ควรสงวนรักษา แต่ทว่าเมื่อเวทนามันกล้าขึ้นมา ทุกข์มากขึ้นมา จะต้องนำสิ่งนั้น ๆ ออกไปขายเพื่อรักษา นำหยูกนำยามาบำบัดให้ทุกขเวทนาหายไป
สิ่งที่เราไม่ชอบใจ ไม่พอใจเรายอมเสียสละข้าวของเงินทอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขความสบาย ส่วนสิ่งที่สุขที่สบายเราก็ปรารถนาอยากจะได้ ถึงจะยากจะลำบากขนาดไหน ก็อยากจะได้มาเป็นสมบัติของตัว ทุกข์ยากลำบากก็อุตส่าห์พยายามแสวงหา เพราะอยากได้ความสุขนั้นมา
ที่เกิดขึ้นมา เราเบื่อ เราหน่าย เงินทองข้าวของมากมายขนาดไหนก็ยอมเสียสละ เพื่อจะให้เวทนาตัวทุกข์นั้นมันหมดไป หายไป ให้กายมันสุข มันสบาย ยอมขายบ้าน ขายเรือน ขายไร่ ขายนา
เงินทองมรดกที่บิดามารดาหามาไว้ ท่านล่วงลับดับไปก็ตกเป็นสมบัติของเรา ถือว่าสมบัติเหล่านั้นเป็นสมบัติที่ควรสงวนรักษา แต่ทว่าเมื่อเวทนามันกล้าขึ้นมา ทุกข์มากขึ้นมา จะต้องนำสิ่งนั้น ๆ ออกไปขายเพื่อรักษา นำหยูกนำยามาบำบัดให้ทุกขเวทนาหายไป
สิ่งที่เราไม่ชอบใจ ไม่พอใจเรายอมเสียสละข้าวของเงินทอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขความสบาย ส่วนสิ่งที่สุขที่สบายเราก็ปรารถนาอยากจะได้ ถึงจะยากจะลำบากขนาดไหน ก็อยากจะได้มาเป็นสมบัติของตัว ทุกข์ยากลำบากก็อุตส่าห์พยายามแสวงหา เพราะอยากได้ความสุขนั้นมา
สุขก็ดี
ทุกข์ก็ดี เฉย ๆ ก็ดี ทั้งสามสิ่งนี้เรียกว่า เวทนา เวทนานี้ก็เป็นอนัตตาอีกเหมือนกัน บอกไม่ได้ สอนไม่ฟัง
ไม่มีใครที่จะมีอำนาจวาสนาหักห้ามมันได้
มันเกิดขึ้นมา ก็ตั้งอยู่ ดับไป
ทำนองเดียวกันกับรูป แต่เราไม่รู้ เราจึงไปยึดไปถือมัน เข้าใจว่าเวทนานั้นเป็นของของเรา
ทำนองเดียวกันกับรูป แต่เราไม่รู้ เราจึงไปยึดไปถือมัน เข้าใจว่าเวทนานั้นเป็นของของเรา
ถ้าเป็นเรื่องสุข
ก็ชอบจิตติดข้องในสิ่งนั้น ๆ อยากจะให้เป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดไป
ถ้าทุกข์ก็อยากจะขับไล่ไสส่งให้ตกออกไปจากกายจากใจของตัว
มันคิดอย่างนั้น มันปรุงอย่างนั้น มันยึดอย่างนั้น มันถืออย่างนั้น พวกเราท่านจึงหลงเรื่องของเวทนา
ถือเอาขันธ์ส่วนนั้นว่า
เป็นตัว เป็นตนเป็นคน เป็นสัตว์
ถ้าหากเราปฏิบัติด้านอรรถธรรมจริงจังจิตของเราละเอียด
จิตของเราเป็นธรรม เราจะทราบว่า เวทนานี้สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา เป็นแต่สักว่าเวทนาเท่านั้น
เวทนานี้มันจะเจริญเติบโตไปได้
มันจะให้ทุกข์ขนาดไหนก็ไม่เลยตาย ตายไปแล้ว ทุกข์ส่วนนั้นมันจะหาย
ในเมื่อเวลาหมดลมหายใจ มันจะไม่มีอะไรเหลือหลอ
แต่เมื่อเวลาเราเป็นอยู่ เราจะสู้จะหลบ จะพิจารณาอย่างไร
จึงจะทราบว่าเวทนานี้เป็นขันธ์อันหนึ่ง ไม่ใช่ของจิต
เรื่องเหล่านี้เราต้องต่อสู้
เราต้องพิจารณาดูด้วยความเป็นธรรม ไม่เข้าข้างตัว ไม่เข้าข้างใด อาศัยความจริงพิสูจน์ของจริง จะเห็นเด่นชัดในจิตในใจ
เราต้องพิจารณาดูด้วยความเป็นธรรม ไม่เข้าข้างตัว ไม่เข้าข้างใด อาศัยความจริงพิสูจน์ของจริง จะเห็นเด่นชัดในจิตในใจ
เวทนา นี้ทางที่จะดับมันได้ คือ ใจสงบ ถ้าใจสงบแล้ว เวทนามันดับ สงบถึงที่
รวมถึงที่ไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา จะต้องเป็น ต้องเห็นในผู้ปฏิบัติ
ถึงมันจะหนักขนาดไหน
ถ้าหากใจรวมได้เวทนามันหายเหมือนปลิดทิ้ง ไม่มีอะไรที่จะมายุ่งเกี่ยว นี่ก็คือเรื่องลงรวมของจิตที่ผู้ฝึกปฏิบัติ มีสมาธิสมาบัติเข้าได้ หลบได้เป็นกาลเป็นสมัย
ถ้าหากใจรวมได้เวทนามันหายเหมือนปลิดทิ้ง ไม่มีอะไรที่จะมายุ่งเกี่ยว นี่ก็คือเรื่องลงรวมของจิตที่ผู้ฝึกปฏิบัติ มีสมาธิสมาบัติเข้าได้ หลบได้เป็นกาลเป็นสมัย
แต่
เวทนา ที่พระพุทธเจ้าให้รู้ ให้เห็นตามเป็นจริงนั้น ท่านให้เห็นว่า เวทนาสักแต่ว่าเวทนา
ไม่ใช่ตัวตนคนสัตว์อะไร
ข้อนี้จะระจักษ์ในการพินิจพิจารณา
ในการภาวนาของตัว คือ จะเห็นด้วยการบำเพ็ญภาวนาว่า
อันนี้มันเป็นขันธ์อันหนึ่งต่างหาก
ผู้ไปรู้อันนี้เป็นอีกอันหนึ่งต่างหาก ถึงอันนี้มันจะก่อกวน วุ่นวาย สุขสบายก็ตาม ทุกข์ลำบากก็ตามเป็นเรื่องของเวทนา ไม่ใช่จิตผู้ไปรู้ ผู้ไปเห็น
ผู้ไปรู้อันนี้เป็นอีกอันหนึ่งต่างหาก ถึงอันนี้มันจะก่อกวน วุ่นวาย สุขสบายก็ตาม ทุกข์ลำบากก็ตามเป็นเรื่องของเวทนา ไม่ใช่จิตผู้ไปรู้ ผู้ไปเห็น
สติตามรู้จิตของตนในขณะนั้น
ๆ จัดเป็น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นจิต ไม่ได้หลงใหลมืดบอดไปตามอาการนั้น ๆ ทราบดีว่าเรื่องเหล่านี้มันเป็นขันธ์อันหนึ่งต่างหาก
แต่มันเกิดจากกายจากจิต เหมือนกันกับเสียง เกิดจากความกระทบของฆ้อง ของกลอง ความจริงกลองมันก็ไม่มีเสียง ฆ้องมันก็ไม่มีเสียง แต่ไปกระทบกันเข้า ตีกันเข้า เสียงมันจึงเกิดขึ้น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นจิต ไม่ได้หลงใหลมืดบอดไปตามอาการนั้น ๆ ทราบดีว่าเรื่องเหล่านี้มันเป็นขันธ์อันหนึ่งต่างหาก
แต่มันเกิดจากกายจากจิต เหมือนกันกับเสียง เกิดจากความกระทบของฆ้อง ของกลอง ความจริงกลองมันก็ไม่มีเสียง ฆ้องมันก็ไม่มีเสียง แต่ไปกระทบกันเข้า ตีกันเข้า เสียงมันจึงเกิดขึ้น
ธาตุขันธ์
ที่เกิดเวทนาอย่างนั้น มันก็ต้องมีเหตุของมัน มันจึงเกิดสุข มันจึงเกิดทุกข์
คือมันกระทบในสิ่งที่ตัวต้องการ ตัวปรารถนา มันก็เกิดสุขขึ้น
มันกระทบในสิ่งที่ตัวไม่ต้องการ ตัวไม่ปรารถนา มันก็เกิดทุกข์ขึ้น
นี่..คือความหลงใหล เพราะไม่เข้าใจตามเป็นจริง
หากไปยึดไปถือในสิ่งนั้น
ๆ มันจึงเกิดทุกข์ เกิดโทษ เมื่อสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น
สิ่งที่ปรารถนาเกิดขึ้นก็อยากจะให้มันตั้งอยู่ ไม่อยากจะให้มันวิบัติฉิบหายไปที่ไหน
แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ มีอำนาจที่จะรักษาได้ เพราะ สิ่งใดเกิดขึ้น
สิ่งนั้นจะต้องดับไปเป็นธรรมดา
ผู้มีปัญญาทราบชัดอย่างนั้น มีการเกิดขึ้นได้ จะต้องมีการแปรปรวน และสลายไป ถ้าเรารู้ เราเข้าใจ ในตัวของเราจริงจังอย่างนั้น มันไม่มีอะไรที่จะปิดบังอำพราง จะหลงใหล จะยึดถือจะ เข้าใจผิด
ผู้มีปัญญาทราบชัดอย่างนั้น มีการเกิดขึ้นได้ จะต้องมีการแปรปรวน และสลายไป ถ้าเรารู้ เราเข้าใจ ในตัวของเราจริงจังอย่างนั้น มันไม่มีอะไรที่จะปิดบังอำพราง จะหลงใหล จะยึดถือจะ เข้าใจผิด
พระพุทธเจ้ารับรอง โกณฑัญญะก็รับรอง โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม คือ
เห็นว่าสิ่งใดมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะต้องมีการแตกดับ
เห็นประจักษ์ชัดเจนในจิต ในใจ ไม่มีการสงลัย ไม่มีอะไรปิดบัง
นี้ท่านเรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม ถ้ามันเห็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้นโดยไม่ได้จำมาจากที่อื่น ไม่ได้คาดหมาย มันเข้าใจในการพิจารณาของตัว ในการภาวนาของตัวอย่างนั้น
พระอัญญาโกณฑัญญะเห็นอย่างไร ใจของเราที่ไปเห็นอย่างนั้นก็เหมือนกัน ถึงพระพุทธเจ้าไม่รับรองเพราะท่านปรินิพพานไปแล้ว แต่เราเองก็ทราบว่า จิตของเรามันเป็นอย่างไร มันห่างไกลจากความสงสัย จากการยึดถือหรือไม่
นี่ก็เป็นเรื่องการบำเพ็ญภาวนาจะต้องกำหนดให้รู้ให้เห็นในตัวของตัวผู้ภาวนา
ถ้าหากมีสติกำหนดกายก็ดี กำหนดเวทนาก็ดี กำหนดจิต ความคิดปรุงต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า เจตสิก ก็ดี เหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องซึ่งเราจะพินิจพิจารณา จนปล่อยวางความยึดถือ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา
เห็นประจักษ์ชัดเจนในจิต ในใจ ไม่มีการสงลัย ไม่มีอะไรปิดบัง
นี้ท่านเรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม ถ้ามันเห็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้นโดยไม่ได้จำมาจากที่อื่น ไม่ได้คาดหมาย มันเข้าใจในการพิจารณาของตัว ในการภาวนาของตัวอย่างนั้น
พระอัญญาโกณฑัญญะเห็นอย่างไร ใจของเราที่ไปเห็นอย่างนั้นก็เหมือนกัน ถึงพระพุทธเจ้าไม่รับรองเพราะท่านปรินิพพานไปแล้ว แต่เราเองก็ทราบว่า จิตของเรามันเป็นอย่างไร มันห่างไกลจากความสงสัย จากการยึดถือหรือไม่
นี่ก็เป็นเรื่องการบำเพ็ญภาวนาจะต้องกำหนดให้รู้ให้เห็นในตัวของตัวผู้ภาวนา
ถ้าหากมีสติกำหนดกายก็ดี กำหนดเวทนาก็ดี กำหนดจิต ความคิดปรุงต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า เจตสิก ก็ดี เหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องซึ่งเราจะพินิจพิจารณา จนปล่อยวางความยึดถือ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมหมายถึงสภาวะที่เป็นอยู่
หรือสิ่งทั่วไปที่ปรากฏในจิตในใจ จะเป็นโลกธรรมก็ตาม เป็นนามธรรมก็ตาม
เมื่อมันเกิดขึ้นให้มีสติรู้ มีปัญญาพิจารณาดู ให้จิตเห็นให้จิตเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ
ตามเป็นจริงของมัน นี่ก็คือผู้ที่กำหนดเพื่อความจะตรัสรู้
เพื่อความจะไม่อยู่ในโลกต่อไป
ถ้ากำหนดสติปัฏฐานทั้งสี่นี้
เอาใจใส่กำหนดรักษาพิจารณาอยู่ตลอดเวลา อย่างช้าไม่เกิน 7 ปี คนนั้นจะมีคติเป็นสอง
คือเป็นพระอนาคา หรือเป็นพระอรหันต์ ปุถุชนคนหนาอย่างพวกเรา
ท่านไม่ว่า ไม่ว่า
สติปัฏฐานทั้งสี่นี้
มันมีอยู่ในตำรับตำรา หรือมีอยู่ที่ตัวของตัว กายมันมีอยู่ที่ไหน
เวทนามันมีอยู่ที่ไหน จิต ธรรมมันมีอยู่ที่ไหน ต้องตรวจตราพิจารณา
มันมีอยู่ในตัวของทุกคนที่จะพิจารณาได้ แต่คำว่า “การพิจารณาเข้ามาภายใน” นี้ มันพิจารณายาก เพราะเราไม่เคย
ไม่เคยจะพิจารณากายของตัวเพื่อให้รู้ให้เห็นตามเป็นจริง พิจารณาก็เห็นว่ากายอันนี้มันสวย มันงาม มันดี มันเด่นอย่างนั้นอย่างนี้ มันสุขมันสบาย ถือไปทำนองนั้น ไม่พิจารณาแยกแยะ เพื่อหามูลความจริงของมัน มันจึงหลงใหลเรื่อยมาตั้งแต่ไหนแต่ไร
ไม่เคยจะพิจารณากายของตัวเพื่อให้รู้ให้เห็นตามเป็นจริง พิจารณาก็เห็นว่ากายอันนี้มันสวย มันงาม มันดี มันเด่นอย่างนั้นอย่างนี้ มันสุขมันสบาย ถือไปทำนองนั้น ไม่พิจารณาแยกแยะ เพื่อหามูลความจริงของมัน มันจึงหลงใหลเรื่อยมาตั้งแต่ไหนแต่ไร
คนที่มีจิตใจมืดบอด
ไม่มีปัญญาสามารถที่จะทราบเรื่องสติปัฏฐานตามเป็นจริงนี่เอง
มันจึงเวียนว่ายตายเกิดเรื่อยมา
ถ้าหากพิจารณาติดต่อกันอยู่บ่อย
ๆ ไม่ให้ขาดวรรคขาดตอน มันจะต้องเป็นไปได้ จิตใจมันจะไปหลงใหลใฝ่ฝันอะไร
ความจริงของมันมีอย่างไร
จิตใจให้พิจารณาจับจุดอยู่นั้น มันไม่มีโอกาส เวลาที่จะไปบ้า ไปบอ ไปโกรธ ไปโลภ
ไปหลงกับเรื่องอันอื่น เพราะมันดูของจริงที่มีอยู่ในตัว
นี่เพราะมันไม่เป็นอย่างนั้น พิจารณาเพียงแผล็บเดียวเท่านั้น
มันก็เลยออกไปสู่อารมณ์อันใหม่เสีย
เมื่อมันเป็นอย่างนั้นกำลังของมันไม่พอที่จะละ จะถอนกิเลสตัณหาให้หลุด ให้ตก ให้ขาดไปได้ มันจึงก่อกวนให้ทุกข์ ให้โทษ หลงใหลใฝ่ฝันอยู่เรื่อย ๆ เพราะเราทำของเรายังไม่ถึงขีด ถึงขั้น ถึงเขต ถึงแดนของมัน เหมือนกันกับเราฟันต้นไม้ใหญ่ ๆ ฟันเพียงทีเดียว แล้วก็หนีไปเป็นระยะเวลานาน จึงมาฟันอีก
ถ้าทำอยู่แบบนี้ หากเป็นต้นไม้ที่มันแก่น มันแข็ง แม้ต้นจะเล็กขนาดเท่าขาของเรา ตัดแล้วหนีไป เป็นเดือนสองเดือน เป็นปีสองปี ถึงค่อยมาตัดอีกที ก็ไม่มีวันขาด จนกระทั่งวันตายที่เราตัดเราฟันไว้นั้น มันจะงอกหอหุ้มออกมาอีก เรื่องของมันเป็นอย่างนั้น มันเลยไม่ขาดให้
เมื่อมันเป็นอย่างนั้นกำลังของมันไม่พอที่จะละ จะถอนกิเลสตัณหาให้หลุด ให้ตก ให้ขาดไปได้ มันจึงก่อกวนให้ทุกข์ ให้โทษ หลงใหลใฝ่ฝันอยู่เรื่อย ๆ เพราะเราทำของเรายังไม่ถึงขีด ถึงขั้น ถึงเขต ถึงแดนของมัน เหมือนกันกับเราฟันต้นไม้ใหญ่ ๆ ฟันเพียงทีเดียว แล้วก็หนีไปเป็นระยะเวลานาน จึงมาฟันอีก
ถ้าทำอยู่แบบนี้ หากเป็นต้นไม้ที่มันแก่น มันแข็ง แม้ต้นจะเล็กขนาดเท่าขาของเรา ตัดแล้วหนีไป เป็นเดือนสองเดือน เป็นปีสองปี ถึงค่อยมาตัดอีกที ก็ไม่มีวันขาด จนกระทั่งวันตายที่เราตัดเราฟันไว้นั้น มันจะงอกหอหุ้มออกมาอีก เรื่องของมันเป็นอย่างนั้น มันเลยไม่ขาดให้
การพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่ก็ทำนองเดียวกัน
ทุกท่านที่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนมาก็เคยพิจารณา แต่มันพิจารณาแบบที่ว่า มันไม่ได้ติดต่อกันไป
ที่พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่า จะมีคติเป็นสองนั้น ท่านให้พิจารณาติดต่อกันไปเรื่อย ๆ
ไม่ให้หยุด ไม่ให้ถอย
เมื่อจิตยังยึด ยังถือ ยังติด ยังข้อง จะต้องพิจารณา จะต้องพิจารณาจนให้เห็นประจักษ์ในตัวของตัวเองว่ามันละได้ ถอนได้ มันไม่ติด ไม่ข้อง มันอยู่กับกาย แต่ก็ไม่ติดกับกาย ทราบได้ด้วยตัวเอง มันจึงจะควรหยุด ควรถอย ในการพินิจพิจารณา ถ้ามันไม่ถึงจุดนั้น เราก็จะต้องพิจารณาเรื่อยไป
ให้ถือเอาความเป็นไปของใจเป็นใหญ่ อย่าไปถือเอาเวลาที่ผ่านมาเป็นใหญ่ เพราะใจถ้าหากไม่ได้พิจารณา เวลามันก็ล่วงไป ๆ อยู่เหมือนกัน ถึงเวลามันล่วงไปขนาดนั้น เราทำมานานแล้วหยุดเสียก่อน ถอยเสียก่อน พักผ่อนเสียก่อนมันไป แบบนั้นมันจึงไม่เกิดอะไรอัศจรรย์ขึ้น ผู้ที่จะเอาจริงเอาจังนั้นท่านสู้เอาชีวิตเป็นประกัน
เมื่อจิตยังยึด ยังถือ ยังติด ยังข้อง จะต้องพิจารณา จะต้องพิจารณาจนให้เห็นประจักษ์ในตัวของตัวเองว่ามันละได้ ถอนได้ มันไม่ติด ไม่ข้อง มันอยู่กับกาย แต่ก็ไม่ติดกับกาย ทราบได้ด้วยตัวเอง มันจึงจะควรหยุด ควรถอย ในการพินิจพิจารณา ถ้ามันไม่ถึงจุดนั้น เราก็จะต้องพิจารณาเรื่อยไป
ให้ถือเอาความเป็นไปของใจเป็นใหญ่ อย่าไปถือเอาเวลาที่ผ่านมาเป็นใหญ่ เพราะใจถ้าหากไม่ได้พิจารณา เวลามันก็ล่วงไป ๆ อยู่เหมือนกัน ถึงเวลามันล่วงไปขนาดนั้น เราทำมานานแล้วหยุดเสียก่อน ถอยเสียก่อน พักผ่อนเสียก่อนมันไป แบบนั้นมันจึงไม่เกิดอะไรอัศจรรย์ขึ้น ผู้ที่จะเอาจริงเอาจังนั้นท่านสู้เอาชีวิตเป็นประกัน
การสู้เวทนานั้นเป็นทางที่จะทำจิตทำใจให้เห็นอรรกเห็นธรรมง่าย
ถ้าหากจะสู้กันจริง ๆ จัง ๆเชื่อมั่นว่าคนนั้นไม่ถึง 7 วันจะต้องเห็นในจิตในใจของตน
คือ เราสู้เอาชีวิตเป็นประกัน มันจะปวดขนาดไหนก็ปวดไป จะไม่ยอมขยับเขยื้อน
เรานั่งอยู่ขาใด มือใด ท่าใด เราจะนั่งอยู่อย่างนั้น
ถ้าหากความอัศจรรย์อะไรไม่เกิดขึ้น เวลามันไม่เกิดเวทนา
ทุกขเวทนานั้น จิตใจเพลิดเพลินคิดปรุงไปเรื่องอื่นได้ แต่เวลามันจวนจะตายจริง ๆ มันเจ็บ มันปวดนั้น เวทนาใหญ่เกิดขึ้น ลองมาไล่มันไปเถอะ อะไรควรกำหนัดยินดี น่าเพลิดน่าเพลินจะให้ไปคิด นู้น อย่ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของเวทนาเรื่องของกาย มันไล่ไม่ไป มันกลัวตาย
ทุกขเวทนานั้น จิตใจเพลิดเพลินคิดปรุงไปเรื่องอื่นได้ แต่เวลามันจวนจะตายจริง ๆ มันเจ็บ มันปวดนั้น เวทนาใหญ่เกิดขึ้น ลองมาไล่มันไปเถอะ อะไรควรกำหนัดยินดี น่าเพลิดน่าเพลินจะให้ไปคิด นู้น อย่ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของเวทนาเรื่องของกาย มันไล่ไม่ไป มันกลัวตาย
ที่นี้ก็จะแตก
ที่นี้ก็จะหัก ที่นั้นก็เจ็บ ที่นี้ก็ปวด มันจะพังจริง ๆ จัง ๆ
มันมีแต่อยากจะลุกจะหนี มันเจ็บปวดรวดร้าวอย่างที่บอกไม่ถูก เหมือนนั่งอยู่ในกองไฟ
หรือเหมือนเอาหลาวทิ่มขึ้นไปบนอากาศ แล้วนั่งอยู่บนปลายแหลน ปลายหลาว
มันไม่มีที่ไหนที่มันสุขมันสบายให้
ระยะนั้นแหละ ไล่มันไปไม่ได้
ถ้าหากจิตไม่รวมให้ใจไม่เป็นธรรม มันก็ทำท่าจะตายถ่ายเดียว คนที่ใจไม่เด็ด ไม่ยอมเสียสละชีวิตมันก็อยู่ไม่ได้ จะต้องลุกต้องหนี ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ
อิริยาบถนี้ปิดบังทุกข์เอาไว้ไม่ให้เราเห็นชัดเจน ถ้าเราสู้ทนเอา เรานั่งก็ท่านี้แหละ เป็นท่าสุข ท่าสบาย ว่าเป็นสุขแล้ว
ถ้าหากจิตไม่รวมให้ใจไม่เป็นธรรม มันก็ทำท่าจะตายถ่ายเดียว คนที่ใจไม่เด็ด ไม่ยอมเสียสละชีวิตมันก็อยู่ไม่ได้ จะต้องลุกต้องหนี ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ
อิริยาบถนี้ปิดบังทุกข์เอาไว้ไม่ให้เราเห็นชัดเจน ถ้าเราสู้ทนเอา เรานั่งก็ท่านี้แหละ เป็นท่าสุข ท่าสบาย ว่าเป็นสุขแล้ว
การนั่งของเรา
ครั้นนั่งไป ๆ ความเจ็บปวดมันเกิดขึ้น นั่นแหละจะได้พิจารณาเรื่องของมัน
มันมาจากที่ไหน มีอะไรอยู่ในตัวของตัว มันจึงเกิดขึ้นอย่างนั้น
เนื้อหนังก็ของเก่า แข้งขาก็ของเก่า หรือใครเขาเอามาให้
นี่มันจะทราบเรื่องของเวทนาว่า เวทนานั้นสักแต่ว่าเวทนาไม่ใช่จิต เพราะเราได้สู้ได้พิจารณาดูตามเป็นจริงของมัน กายนี้มันไม่ทราบอะไร ตายเอาไปเผาไฟ ฝังดิน มันก็ไม่เห็นบ่น
นี่มันจะทราบเรื่องของเวทนาว่า เวทนานั้นสักแต่ว่าเวทนาไม่ใช่จิต เพราะเราได้สู้ได้พิจารณาดูตามเป็นจริงของมัน กายนี้มันไม่ทราบอะไร ตายเอาไปเผาไฟ ฝังดิน มันก็ไม่เห็นบ่น
อันนี้มันเกิดขึ้นมาจากที่ไหน
กระดูกของเก่า เนื้อหนังของเก่า ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้
พิจารณาถ้าหากจิตไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง เมื่อไร
ตายก็ให้มันตายไป ให้เขาได้ลงหนังสือพิมพ์ออกอากาศว่า คนนั้นภาวนาจนตาย
ปล่อยให้มันเห็นกัน ถ้าหากมันไม่ตาย สิ่งที่เหนือตายคืออะไร
เราจะทราบ สิ่งใดมันตายไปก็ให้มันตายไป สิ่งใดที่มันเหลืออยู่
เราจะเอาอันนั้นแหละเป็นตัวของเรา เป็นของของเรา
นี่แหละนักสู้ต้องสู้แบบนั้น เวลาต่อสู้กันจริงจัง ระยะนั้นและธรรมอัศจรรย์จะเกิดขึ้น ถ้าเราต่อสู้ได้ เราจะทราบเรื่องของจิตของใจว่าเป็นอย่างไร ความอัศจรรย์ที่ไม่เคยเห็น เคยเป็นมาก่อน มันปรากฏขึ้น มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสว่างไสวโล่งอกโล่งใจ เมื่อเวลามันจะตายจริงจังมันก็แบบนี้แหละ
นี่แหละนักสู้ต้องสู้แบบนั้น เวลาต่อสู้กันจริงจัง ระยะนั้นและธรรมอัศจรรย์จะเกิดขึ้น ถ้าเราต่อสู้ได้ เราจะทราบเรื่องของจิตของใจว่าเป็นอย่างไร ความอัศจรรย์ที่ไม่เคยเห็น เคยเป็นมาก่อน มันปรากฏขึ้น มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสว่างไสวโล่งอกโล่งใจ เมื่อเวลามันจะตายจริงจังมันก็แบบนี้แหละ
ถ้าเราสู้มันได้
เราเข้าใจตามเป็นจริงเวทนาหน้าไหนมันจะเกิดขึ้นเมื่อไร
จิตใจของเราจะลุ่มหลงอีกหรือไม่ เราทราบจากการกระทำของตัว
ฉะนั้น การสู้ การทำแบบนั้น
มันจึงเป็นเรื่องของทุกท่านที่มุ่งมั่นเพื่อจะปฏิบัติให้พ้นโลก
จะต้องทดสอบกระทำบำเพ็ญมันหยาบ
มันยาก มันยุ่ง ปฏิบัติมาเท่าไรก็ไม่เห็นเกิดอัศจรรย์อะไรให้
ใจไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ทำไปก็เหมาตัวเองว่าเป็นคนที่ไม่มีอำนาจวาสนา ไม่เห็นธรรม ก็ทำไมมันเกิดมาได้ เรามีหางมีเขาหรือ จึงไปเหมาว่าตัวหมดอำนาจวาสนา มันจะต้องต่อว่า ดัดสันดานมัน เมื่อทำกันจริงจังมันไม่เห็นไม่เป็นให้ ก็ให้มันตายไปละซิ เพราะเกิดมาก็ต้องตายอยู่แล้ว จะต้องเป็นคนเด็ดเดี่ยวอาจหาญต่อสู้
ใจไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ทำไปก็เหมาตัวเองว่าเป็นคนที่ไม่มีอำนาจวาสนา ไม่เห็นธรรม ก็ทำไมมันเกิดมาได้ เรามีหางมีเขาหรือ จึงไปเหมาว่าตัวหมดอำนาจวาสนา มันจะต้องต่อว่า ดัดสันดานมัน เมื่อทำกันจริงจังมันไม่เห็นไม่เป็นให้ ก็ให้มันตายไปละซิ เพราะเกิดมาก็ต้องตายอยู่แล้ว จะต้องเป็นคนเด็ดเดี่ยวอาจหาญต่อสู้
อย่าไปหลงสังขาร
มารกิเลส ไม่อย่างนั้น ก็จะไม่มีวันทันกับเรื่องของการแก้ไขใจของตัว
มันจะหลอกเรื่อยไป ทำให้มันถึงขีดถึงขั้น เชื่อมั่นในตัวแล้ว
มันสุข มันสบาย เพราะใจมันสบาย จะตายจะอยู่มันก็สุขก็สบายของมันอยู่อย่างนั้น
เพราะไม่มีอะไรที่จะตาย ไม่มีอะไรที่จะเสียหาย
ความเห็นความเป็นของใจ มันรู้จักสิ่งทุกอย่างตามเป็นจริงของมัน ไม่เป็นข้าศึกศัตรูกับทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นมิตรกันหมด นี่คือ..ความเห็นตามเป็นจริง ทุกข์ก็ทราบว่า ทุกข์ สมุทัย ความหลงใหล ความบ้าเราก็ได้ละได้ถอนไปแล้ว
ความดับทุกข์สนิทในใจ เป็นอย่างไรเราก็เห็น การกระทำบำเพ็ญของเราที่จะมารู้มาเห็น สิ่งนี้ เราได้ทำอย่างไร เราก็รู้ ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างในอริยสัจจบแล้ว มันจะมีอะไรสงสัย มันจะมีอะไรทำให้ตัวเดือดร้อน มันไม่มี ฉะนั้น ขอทุกท่านจงนำไปพินิจพิจารณาบำเพ็ญ
ทุกคนมีอำนาจวาสนา มีสติปัญญา พอที่จะเห็นจะเป็นได้ ถ้าเราเหมาเอาว่า เราอาภัพวาสนา ทำอะไรไม่เกิด ไม่เป็น ไม่เห็น ไม่รู้ ถึงอยู่ไปอีกหมื่นปี แสนปี ก็ไม่มีอะไรเห็น อะไรเป็นให้ หากไม่ลงมือกระทำบำเพ็ญ
ความเห็นความเป็นของใจ มันรู้จักสิ่งทุกอย่างตามเป็นจริงของมัน ไม่เป็นข้าศึกศัตรูกับทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นมิตรกันหมด นี่คือ..ความเห็นตามเป็นจริง ทุกข์ก็ทราบว่า ทุกข์ สมุทัย ความหลงใหล ความบ้าเราก็ได้ละได้ถอนไปแล้ว
ความดับทุกข์สนิทในใจ เป็นอย่างไรเราก็เห็น การกระทำบำเพ็ญของเราที่จะมารู้มาเห็น สิ่งนี้ เราได้ทำอย่างไร เราก็รู้ ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างในอริยสัจจบแล้ว มันจะมีอะไรสงสัย มันจะมีอะไรทำให้ตัวเดือดร้อน มันไม่มี ฉะนั้น ขอทุกท่านจงนำไปพินิจพิจารณาบำเพ็ญ
ทุกคนมีอำนาจวาสนา มีสติปัญญา พอที่จะเห็นจะเป็นได้ ถ้าเราเหมาเอาว่า เราอาภัพวาสนา ทำอะไรไม่เกิด ไม่เป็น ไม่เห็น ไม่รู้ ถึงอยู่ไปอีกหมื่นปี แสนปี ก็ไม่มีอะไรเห็น อะไรเป็นให้ หากไม่ลงมือกระทำบำเพ็ญ
ขอทุกท่านจงพากเพียรกระทำบำเพ็ญติดต่อกันไปเรื่อย
ๆ ไม่ให้หยุด ไม่ให้ถอย จนให้เห็นประจักษ์ในตัวของตัวว่า จิตที่ละขันธ์ได้ ถอนได้
ไม่ติดไม่ข้องกับขันธ์นั้นบรมสุขอย่างไร การอธิบายธรรมะ
ก็เห็นว่าควรยุติเพียงเท่านี้
เหนื่อยจนตาย
พระอาจารย์สิงห์ทอง
ธัมมวโร
ที่ไหนๆ ในโลก ไม่ว่าประเทศไทย หรือในต่างประเทศ จะพบว่ามีบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทีหรูหราใหญ่โตสวยงามให้เห็นกันอยู่มากมาย
และถ้าจะถามว่า จิตใจของบุคคลที่อยู่ที่อาศัยในบ้านเรือนที่สวยงามเหล่านั้น จะมีความเยือกเย็นเป็นสุขกว่าใจของคนอื่นๆ ที่มีฐานะต่ำกว่าเขาหรือไม่ ก็คงจะตอบได้ว่า ไม่แน่เสมอไป
ทั้งนี้ก็คงเพราะว่าเรื่องของวัตถุนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดความสงบที่แท้จริงให้กับคนเราได้ วัตถุไม่ใช่สิ่งที่จะมาชำระล้างจิตใจของมนุษย์ได้
บ้านเรือนที่หรูหราจึงไม่ใช่เครื่องหมายที่จะบอกได้ว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นมีจิตใจสงบมากน้อยเพียงไร สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ อยู่ที่ไหน ถ้าใจมันสงบระงับได้ มันก็เป็นสุขได้
ฉะนั้นการฝึกอบรมใจ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งใด ถ้าจิตใจมีแต่ความยึดถือหลงใหลในสิ่งต่างๆอยู่ อย่างถอนตัว ไม่ขึ้น จิตใจก็จะมีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ตลอดไป
ที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะเรื่องของกาย เรื่องของใจทำงานอะไรก็เพื่อกาย เพื่อใจ ทั้งนั้น วิ่งวุ่นกันอยู่ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย ก็เพราะเรื่องของกายกับใจ
คนเรามัวแต่วุ่นวายในงานต่างๆ ทั้งกลางวันกลางคืน โดยส่วนใหญ่ก็เป็นงานภายนอก งานสะสมสร้างฐานะของแต่ละบุคคลทั้งนั้น วุ่นวายจนนั่งไม่ติด เดินไม่ตรง หรือนอนไม่หลับกันไปก็มี เหล่านี้ก็เพราะความยึดถือนั่นแหละเป็น
ตัวการสำคัญ เช่นเกิดยึดถือว่า เราจะมีฐานะสู้เขาไม่ได้ถ้าจะถามว่าสู้ใคร มันก็มีคนที่มีฐานะดีกว่าเราให้เปรียบเทียบเสมอนั่นแหละ
เมื่อไรจะรู้สึกว่าฐานะตัวดีพอ ที่จะหาความสุขกับมันได้จริงๆ บ้างใครมีความพอได้ คนนั้นก็จะมีความสุขได้ พอจริงก็สุขจริง พอได้มาก ก็สุขได้มาก หัดวางเสียบ้าง หัดวางเสียหน่อย
ก่อนที่สังขารจะบังคับให้วางก่อนที่ความเฒ่าชรา และความตาย หรือโรคร้ายจะเป็นผู้บังคับให้วาง ถ้ายังไม่หัดวางจะเป็นผู้ที่เหนื่อยจนตาย แล้วก็ขนอะไรไปด้วยไม่ได้เลยในที่สุด.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment