Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อค / เว็บ

Tuesday, October 27, 2015

วันออกพรรษา เขียนจัดทำโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์

วันออกพรรษา
 


จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม



พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก

พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ลงสู่โลกมนุษย์
ที่ประตูเมืองสังกัสสะ

วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี หลังจากพุทธบริษัทจำพรรษา (มาจากคำว่า วสา พักการเดินทางระหว่างฤดูฝน (วสันตฤดู) เป็นเวลา ๓ เดือน นับแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เพื่อป้องกันพุทธบริษัทจะไปเหยียบข้าวกล้าในนาของชาวบ้านให้เสียหาย อีกทั้งเป็นฤดูฝนไม่สะดวกในการเดินทางเพื่อเผยแผ่พระธรรม

เมื่อพุทธบริษัทพักจำพรรษา ณ ที่ใดจำนวนมากย่อมมีปัญหากระทบกระทั่งทำอะไรไม่ถูกอกถูกใจกันบ้าง พอถึงวันออกพรรษาก็ทำพิธีอโหสิกรรม และยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้เรียกว่าวันมหาปวารณาก่อนแยกย้ายจากกันไปเพื่อเผยแผ่พระอริยสัจธรรมสู่ประชาชนต่อไป

ท่านกล่าวว่าในพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาบน

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ทรงแสดงพระอภิธรรมแก่พระพุทธ

มารดาจนสำเร็จพระโสดาปัตติผล

พระพุทธองค์ทรงเปิดโลก กล่าวว่าท้าวสักกะเทวราชทรง

เนรมิตบันไดทองคำเพื่อเหล่าเทวา บันไดเงินเพื่อมหาพรหมทั้ง

หลาย  บันไดแก้วมณีเพื่อพระพุทธองค์เสด็จลงเมืองมนุษย์ที่

ประตูสังกัสสะนคร ไม่ไกลจากเมืองพาราณสี

วันนี้เรียกว่า วันเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจาก

สวรรค์ มนุษย์ได้เห็นเทวดา มหาพรหมทั้งหลาย แม้เมืองนรก

ท่านว่าสรรพสัตว์ใน ๓ ภพ ย่อมมองเห็นซึ่งกันและกัน 

น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

---------------------------------------------------------------







Friday, June 26, 2015

กฎแห่งกรรม ได้ทำอะไรไว้ในอดีตชาติ จะได้รับผลในชาตินี้อย่างไร? รวบรวมจัดทำโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์

กฏแห่งกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำไม่ดีย่อมได้รับผลไม่ดี



จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม





































































Wednesday, April 8, 2015

ธุดงค์วัตร 13 ข้อ เพื่อขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ รวบรวมจัดทำโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์

ธุดงค์วัตร  13 ข้อ



จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

ธุดงค์ (บาลีธุตังคะ) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ
โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือ การสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ
ธุดงค์นั้น เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วจึงได้ทั้งหมด 13 ข้อ
ธุดงค์ในปัจจุบันยังคงเป็นแนวการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมของชาวพุทธเถรวาททั่วไปในหลายประเทศ โดยไม่จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น คฤหัสถ์ทั่วไปก็ถือปฏิบัติได้บางข้อเช่นกัน
ปัจจุบัน คำว่า ธุดงค์ ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ไปยังที่ต่าง ๆ หรือเรียกว่า การเดินธุดงค์ ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก
ธุดงควัตร
ธุดงควัตร หมายถึงกิจวัตรของการธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ

1.       ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้ (พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่า) สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)

2.       เตจีวริตังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน 3 ผืน (วัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวร ในความหมายว่าผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมด้วย (ในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราว) คือ ผ้าที่เป็นผืน ๆ ที่ไม่ได้ตัดเป็นชุด ตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็น ป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อย และปกปิดร่างกายกันความน่าอายเท่านั้น

3.       ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ (คือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับ) สมาทาน เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)

4.       สปทานจาริปังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขาจาร) (เพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยม) สมาทานบิณฑบาตรตามลำดับ ลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต เดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับ. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิม ถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวัน อย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์ (16 กิโลเมตร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ลำดับอายุพรรษา ไม่เดินแซง (แย่งอาหาร) ซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎก-อรรถกถาแต่อย่างใด สามารถทำได้เช่นกัน

5.       เอกาสนิกังคะ ละเว้นอาสนะที่สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว). ปกติมักถือการนั่งฉันเมื่อเคลื่อนก้นจากฐานอาสนะที่นั่งเป็นอันยุติการฉันหรือรับประทานอาหารในวันนั้น ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะกำหนดเวลาฉันในแต่ละวัน เช่นกำหนดฉันเวลา 9 นาฬิกา ก็จะฉันในเวลานั้นทุกวัน (จะไม่ฉันก่อนเวลานั้น หรือ หลังเวลานั้น เช่นเวลา 8 นาฬิกา หรือ 10 นาฬิกา) จะไม่เปลี่ยนเวลาฉันตามความอยากฉัน หรือ ไม่อยากฉันตามอารมณ์ แต่ฉันตามสัจจะตามเวลาที่อธิษฐานไว้

6.       ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะต้องคนอาหารรวมกันด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีในข้อธุดงค์ตามคัมภีร์แต่ก็ทำได้ไม่ผิดอะไร

7.       ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทานเมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นฉันเหลือให้เป็นเดน (ฉันเหลือเนื่องจากไม่ประมาณในการบริโภค) ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด ทั้งยังเป็นมรรยาทที่ดีงามและพบตัวอย่างของพระสมัยพุทธกาลที่ทำเช่นนี้ด้วย. (อติริตต อาหารอันเป็นเดน)

8.       อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล 500 ชั่วคันธนู หรือ ราว 1 กิโลเมตร โดยจะต้องให้ตะวันขึ้นในป่า หากตัวอยู่ในบ้านตอนตะวันขึ้น เป็นอันธุดงค์แตก สมาทานถืออยู่ในป่า (วน - กลุ่มต้นไม้, อรัญญ - ป่าไกลบ้าน)

9.       รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่นบ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ แต่ท่านอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะต่างออกไปเล็กน้อย คือ จะใช้การปักกลดแทน ประเพณีนี้ไม่ทราบที่มาแน่ชัดนัก แต่ถ้าไม่เอาด้ามกลดปักดินก็ทำได้เพราะถึงอย่างไรกลดก็ไม่ใช่กุฏิ (ปักกลด คือการกางร่มกลด (ร่มที่พระใช้ขณะเดินทาง) ใต้ต้นไม้ เป็นวิธีการของพระสายวัดป่าไทยโดยเฉพาะ

   แต่เดิมครั้งพุทธกาลไม่มีมาก่อน กลดมี 2 ลักษณะคือผูกเชือกแล้วแขวนกลด และใช้ด้ามกลดปักพื้น (มักทำพระอาบัติปาจิตตีย์กันบ่อยด้วยปฐวิขณนสิกขาบท เพราะจงใจขุดดินทั้งที่รู้ตัว) บางรูปวางกับพื้น เรียกว่ากางโลงศพเพราะได้แต่อิริยาบถนอนในกลดเท่านั้น ลุกมานั่งสมาธิไม่ได้ (แต่สามารถถือวางพาดบ่าก็ลุกนั่งได้) โดยปกติจะครอบคลุมด้วยผ้ามุงทรงกระบอกเพื่อกันยุง 

   ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าเมื่อเดินลุยในน้ำ ไม่ทรงอนุญาตให้ใส่ที่อื่น เนื่องจากเดินลุยน้ำเรามองไม่เห็นว่าในน้ำมีอะไรจึงต้องใส่รองเท้า แต่บนพื้นเรามองเห็นอยู่จะพลาดเหยียบหนามก็เพราะขาดสติ (ทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าในวัด หรือป่า เป็นต้นได้ แต่ห้ามใส่เข้าในเขตหมู่บ้าน

    อีกทั้งทรงอนุญาตให้ใช้ร่มเมื่อเข้าไปในใต้ต้นไม้เพื่อป้องกันการร่วงหล่นใส่ของกิ่งไม้แต่ในเบื้องต้นยังไม่อนุญาตให้กางนอกต้นไม้เพื่อใช้กันแดดกันฝน 

   ในคัมภีร์ท่านไม่ได้อนุญาตให้กางร่มกลดไว้ แต่หากเอาตามอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ทรงอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ (สันนิษฐานว่าคงเป็นผ้ามุ้งหูเดียวที่ผูกแขวนใต้ต้นไม้เพราะข้อธุดงค์รุกขมูลที่กำหนดไว้ให้อยู่ใต้ต้นไม้ ไม่น่าจะเป็นการเอาไม้มาพาดแล้วคลุมด้วยผ้าคล้ายเต็นท์ เพราะเต็นท์จะอยู่นอกใต้ต้นไม้ได้) อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะก็อยู่โคนไม้ไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน)

10.    อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือแม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุงใด ๆ.วัดป่าบางทีก็ถือการไม่ใช่อาสนะใด ๆ เลยเช่น เก้าอี้ เตียง ผ้าปูหรือ แม้แต่ผูกเปล รวมทั้งไม่นอนบนต้นไม้ โดยถือหลักการไม่อิงอาศัยสิ่งใดเกินจำเป็น แม้แต่รองเท้าก็ตาม

11.    โสสานิกังคะ ละเว้นการอยู่ในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า ในคัมภีร์หมายถึงป่าช้าเผาศพ ซึ่งต้องเคยมีการเผาศพมาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าช้าฝังผี ข้อนี้ก็เหมือนกับ 2 ข้อ ก่อน ตรงที่ถ้าไม่ได้อยู่ในป่าช้าตอนตะวันขึ้นธุดงค์ก็แตกเช่นกันวัดป่ามักถือการไม่อยู่ในป่าช้าใกล้ๆ กับที่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ตนอยู่ เพราะการอยู่ในป่าช้าก็เพื่อการทดสอบจิตใจต่อการกลัวในความมืดและความเงียบ โดยการอยู่ในที่เปลี่ยวในป่าช้าห่างไกลผู้คนและหมายถึงป่าทั้งที่ฝังและเผา 

12.    ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ เสนาสนคาหาปกะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น. ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการนอนซ้ำที่เดิม (เพื่อไม่หวงแหนในติดในสถานที่) โดย
1)       ถืออย่างเบาคือนอนย้ายที่ในอาวาสทุกวัน
2)       ถืออย่างหนักคือออกเดินทางย้ายที่นอนทุกวัน
3)       ถ้านอกอาวาส ถ้าหลายรูปให้พรรษาที่สูงกว่าเลือกให้และให้พรรษาสูงกว่าเลือกก่อน (ข้อนี้เป็นสมาจาริกศีล ไม่ใช่ธุดงค์) และ
4)       อยู่บนกุฏิวิหารให้ทำให้สะอาด ถ้าตามโคนไม้ไม่กวาดหรือทำอะไรเพราะใบไม้มีประโยชน์เช่นทำให้เท้าไม่ เปื้อนก่อนเข้าอาสนะ และสัตว์หรือคนเข้ามาย่อมได้ยินเสียง

13.    เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)

คำสมาทานธุดงค์ 13 ข้อ

1. ถือ ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร สมาทานว่า คะหะปะติจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ ปังสุกูลิกังคัง สะมาธิยามิ

2. ถือ เพียงไตรจีวรเป็นวัตร สมาทานว่า จะตุตถะจีวะรัง ปะฏิกขิปามิ เตจีวะริกังคัง สะมาทิยามิ

3. ถือ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร สมาทานว่า อะติเรกะลาภัง ปะฏิกขิปามิ ปิณฑปาติกังคัง สะมาทิยามิ

4. ถือ เที่ยวบิณฑบาตไปตามแนวเป็นวัตร สมาทานว่า โลลุปปะจารัง ปะฏิกขิปามิ สะปะทานะจาริกังคังสะมาทิยามิ

5. ถือ นั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร สมาทานว่า นานาสะนะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ เอกาสะนิกังคัง สะมาทิยามิ

6. ถือ ฉันเฉพาะในบาตรเดียวเป็นวัตร สมาทานว่า ทุติยะภาชะนัง ปะฏิกขิปามิ ปัตตะปิณฑิกังคัง สะมาทิยามิ

7. ถือ ห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร สมาทานว่า อะติริตตะโภชะนัง ปะฏิกขิปามิ ขะลุปัจฉาภัตติกังคัง สะมาทิยามิ

8. ถือ อยู่ป่าเป็นวัตร สมาทานว่า คามันตะเสนาสะนัง ปะฏิกขิปามิ อารัญญิกังคัง สะมาทิยามิ

9. ถือ อยู่โคนไม้เป็นวัตร สมาทานว่า ฉันนัง ปะฏิกขิปามิ รุกขะมูลิกังคัง สะมาทิยามิ

10. ถือ อยู่ที่แจ้งเป็นวัตร สมาทานว่า ฉันนัญจะ รุกขะมูลัญจะ ปะฏิกขิปามิ อัพโภกาสิกังคัง สะมาทิยามิ

11. ถือ อยู่ป่าช้าเป็นวัตร สมาทานว่า อะสุสานัง ปะฏิกขิปามิ โสสานิกังคัง สะมาทิยามิ

12. ถือ การอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรพอใจอย่างนั้นเป็นวัตร สมาทานว่า เสนาสะนะโลลุปปัง ปะฏิกขิปามิ ยะถาสันถะติกังคัง สะมาทิยามิ

13. ถือ การนั่งเป็นวัตร สมาทานว่า เสยยัง ปะฏิกขิปามิ เนสัชชิกังคัง สะมาธิยามิ


พระอริยบุคคลที่มีความสำคัญด้านถือธุดงค์
1.   พรมหากัสสปะ ถือผ้าบังสุกุล อยู่ป่า บิณฑบาตรเป็นวัตร
2.   พระนาลกะ ถือไม่โลเลในการภิกขาจาร ไม่โลเลใน      เสนาสนะ
3.   พระโมฆะราช ถือบังสุกุลทรงจีวรเศร้าหมอง
4.   พระจักขุบาล ถือเนสัชชิก
5.   พระมหากาล ถืออยู่ป่าช้า
------------------------------------------------------------------------------------------