ประวัติ คำสอน ของพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ
(พระโพธิธรรมาจารย์เถระ)
วัดป่าเขาน้อย ต. เสม็ด อ. เมือง จ. บุรีรัมย์
พระอริยสงฆ์ พระธรรมทูตต่างประเทศ
จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ กำเนิดในสกุล
"ทองศรี" ท่านมีนามเดิมว่า "สุวัจน์" เกิดเมื่อวันที่ 29
สิงหาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10
ปีมะแม ณ ตำบลตากูก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
โยมบิดาชื่อ
"บุตร" โยมมารดาชื่อ "กึ่ง" ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน
โดยมีพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 2 คน
การศึกษา
เมื่ออายุถึงเกณฑ์ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดกระพุมรัตน์
บ้านตากูก จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น
และท่านได้อยู่ช่วยงานด้านเกษตรกรรมร่วมกับบิดามารดา และพี่ ๆ น้อง ๆ นอกจากนั้น
ท่านได้มีโอกาสเรียนวิชาชีพกับช่างทองจนมีความรู้พอประกอบอาชีพได้
การบรรพชา
ด้วยจิตใจที่ฝักใฝ่ทางธรรมและรักในเพศบรรพชิตมาตั้งแต่เป็นเด็ก
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2481 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 19 ปี ท่านก็ได้ขออนุญาตบิดามารดา
เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร โดยเข้าพิธีบรรพชา ณ วัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก นั้นเอง
ท่านได้ตั้งใจศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรม
จนเมื่ออายุใกล้ครบบวช
ซึ่งแม้ว่าการปฏิบัติธรรมของท่านในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่นี้จะไม่นานนัก
แต่ความศรัทธาต่อศาสนธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้หยั่งลงลึกในจิตใจท่าน
และเพียงพอที่จะเกิดเป็นปณิธานภายในใจท่านว่า อย่างไรเสียท่านต้องอุปสมบท
เพื่อประพฤติธรรมในสมณเพศนี้สืบไป
ดังนั้นท่านจึงได้ของอนุญาตโยมบิดามารดาเพื่ออุปสมบท ซึ่งท่านทั้งสองก็ไม่ขัดข้อง
อย่างไรก็ดี
ตอนนั้นเป็นช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าวพอดี ประกอบกับเพื่อจะได้จัดการในเรื่องต่าง
ๆ ก่อนที่จะอุปสมบท ท่านจึงได้ลาสิกขาบทจากสามเณรเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน
ในปี
พ.ศ. 2482 หลังจากที่ท่านได้จัดการเรื่องต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ประกอบกับท่านมีอายุครบ 20 ปีท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท
อยู่ในภิกษุภาวะสมความตั้งใจ ณ วัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก
ซึ่งเป็นวัดมหานิกายที่ท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณร ท่านได้รับฉายาว่า
"สุวโจ" โดยมี
พระครูธรรมทัศน์พิมล
(ด้น) เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย (เมื่อครั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์)
เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์เคลือบ
วัดดาวรุ่ง บ้านขาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์อุเทน
วัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากที่ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว
ในพรรษาแรกนั้นเอง ได้มีชาวบ้านบุแกรง อำเภอท่าตูม (ปัจจุบันคืออำเภอจอมพระ) จังหวัดสุรินทร์
พากันมาอาราธนาท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบุแกรง ซึ่งเป็นวัดร้าง ไม่มีพระอยู่จำพรรษา
ต่อมาด้วยเห็นว่า หากจะอยู่ทำประโยชน์ไว้ในพระบวรพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
จำเป็นที่ท่านต้องศึกษาเพิ่มเติม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2483 หลังออกพรรษาแล้ว
ท่านจึงเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา จนสอบได้นักธรรมชั้นตรีและโทในปี พ.ศ. 2483 และ 2484 ตามลำดับ
ญัตติใหม่ในธรรมยุติกนิกาย
ในปี
พ.ศ. 2484 ภายหลังที่ท่านสอบได้นักธรรมโทแล้ว
เกิดมีศรัทธาหนักไปทางปฏิบัติจิตตภาวนา
ดังนั้นท่านจึงได้ญัตติใหม่ในธรรมยุติกนิกาย ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
โดยมี
ท่านเจ้าคุณพระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์มหาปิ่น
ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์ทองดี
เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ประวัติการจำพรรษา
พ.ศ. 2484 จำพรรษา
ณ วัดป่าศรัทธารวม เป็นเวลา 2 พรรษา
พ.ศ.
2486 วัดป่าพระสถิต อำเภอศรีเชียงใหม่
จังหวัดหนองคาย
พ.ศ.
2487 วัดโยธาประสิทธิ บ้านห้วยเสนง
จังหวัดสุรินทร์ (ในพรรษานี้ ท่านได้จำพรรษา ร่วมกับท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ประกอบกับได้ดูแลโยมบิดามารดา ซึ่งกำลังป่วยอยู่)
พ.ศ.
2484 วัดป่าศรีไพรวัน อำเภอเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์
ข้ามเขาภูพาน ไปวัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อไปปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต
พ.ศ.
2489-2492 พระอาจารย์มั่น ท่านพิจารณาเห็นว่าท่านพระอาจารย์ฝั้น
อาจาโร เป็นลูกศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ยังไม่มีผู้ดูแลอุปัฏฐากจึงมอบหมายให้พระอาจารย์สุวัจน์ไปเป็นพระอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์ฝั้น
ในระยะเวลา 4 ปีนี้ ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
โดยในช่วงเวลาออกพรรษาของแต่ละปี พระอาจารย์สุวัจน์จะลาท่านพระอาจารย์ฝั้นไปศึกษาธรรม
และอุปัฏฐากพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาในอำเภอพรรณานิคม
จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.
2493 วัดเทพกัลยาราม บ้านน้อยจอมศรี
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.
2494 วัดป่าพระสถิต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
พ.ศ.
2495 สำนักสงฆ์ควนเขาดิน
อำเภอท้ายเมือง จังหวัดพังงา
พ.ศ.
2496 วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง
จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.
2497 วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.
2498 วัดป่าปราสาทจอมพระ อำเภอจอมพระ
จังหวัดสุรินทร์
พ.ศ.
2499 วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง
จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.
2500-2501 วัดป่าปราสาทจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
พ.ศ.
2502 วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง
จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.
2503 วัดป่าบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.
2504 วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง
จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.
2505 สำนักสงฆ์ถ้ำขาม ตำบลบ้านไร่
อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.
2506 วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.
2507 วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง
จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ.
2508 วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม
จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.
2509-2514 วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร
พ.ศ.
2515-2524 สำนักสงฆ์ถ้ำศรีแก้ว ตำบลสร้างค้อ
อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. 2525-2526
สำนักสงฆ์ (ชั่วคราว) ตาโกม่า ซีแอตเติ้ล มลรัฐวอชิงตัน
ได้เคยพักกับพระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ เป็นเวลา 2 เดือน ( 13 พ.ค. - ปลายเดือน ก.ค. 2526)
ก่อนที่จะลาท่านไปจำพรรษาให้ครบองค์สงฆ์ที่วัดพุทธรัตนาราม Fort Worth, Texas, US
(ในระยะเริ่มแรกวัดเป็นบ้านเช่าอยู่เลขที่ 1415 South 302ND Street, Federal Way และใช้ชื่อว่า “Wat Thai of Washington” คณะพระสงฆ์เริ่มเข้ามาปฏิบัติศาสนกิจและอยู่ประจำตั้งแต่ปี 2525 ถึง2526)
(13 กรกฎาคม 2526 คณะกรรมการบริหารได้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “Washington Buddhavanaram” ให้ตรงกับชื่อภาษาไทยคือ “วัดวอชิงตันพุทธวนาราม” อันเป็นมงคลนามที่เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก องค์ปัจจุบันทรงประทานให้และได้ใช้เป็นมงคลนามเรื่อยมา คณะกรรมการบริหาร ได้จัดซื้อที่ดินไว้แปลงหนึ่งเนื้อที่ 7.1 เอเคอร์ (17 ไร่) ในราคา 150,000 เหรียญ เพื่อเตรียมสร้างวัดที่ถาวร ในโอกาสต่อไป)
(13 พฤษภาคม 2527 ได้ย้ายวัดจากบ้านเช่าเดิม เข้าอยู่ในที่ดินแห่งใหม่ที่ซื้อไว้ โดยการนำของพระครูอาทรธรรมานุศาสน์ (พระอมรมุนี ปัจจุบัน) และได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาที่ดินสร้างให้เป็นวัดเจริญรุ่งเรืองถาวรมั่นคงมาจนปัจจุบัน ชื่อและที่ตั้งของวัดอย่างถาวร
วัดวอชิงตันพุทธวนาราม Wat Washington Buddhavanaram
4401 S 3 60th Street, Auburn, Washington 98001, United States)
พ.ศ. 2527 สำนักสงฆ์ (ชั่วคราว) เมืองแอนนาไฮม์ฮิล มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ. 2528 สำนักสงฆ์ป่าธรรมชาติ เมืองลาพวนเต้
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ.
2529 สำนักสงฆ์นอร์ธแซนฮวน
เมืองซาคราเมนโต้ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ.
2530-2533 วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ. 2534 วัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ. 2535 วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ. 2536-2538 วัดเมตตาวนาราม
เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ.
2539 วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ.
2540 วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ.
2541-ปัจจุบัน วัดป่าเขาน้อย ต.เสม็ด อ.เมือง
จ.บุรีรัมย์
การรับแต่งตั้งให้ปฏิบัติศาสนกิจ
และการรับสมณศักดิ์
1.
ตามหนังสือที่ 26/2529 ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2529
ท่านได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต ให้เป็นพระอุปัชฌาย์
2. ตามหนังสือที่ 9/2529 ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ท่านได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต ให้เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา
3. วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2532
ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น "พระครูปลัดสุวัฒนญาณคุณ"
4.
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่
"พระโพธิธรรมจารย์เถระ"
การปฏิบัติศาสนกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา
นับแต่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตจากคณะสงฆ์ไทย
ในปี พ.ศ. 2525 เพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจนี้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การสร้างวัดภูริทัตตวนาราม และวัดเมตตาวนาราม มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
ให้เป็นที่ประพฤติปฏิบัติธรรมตามแบบอย่างของวัดกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระ ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
และพุทธศาสนิกชนชาวอเมริกาหนึ่งในจำนวนนั้นได้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
จึงได้ถวายปัจจัยแด่ท่าน เพื่อซื้อที่ดินบนเขา เนื้อที่ 60 เอเคอร์ (ประมาณ 150
ไร่) คิดเป็นเงิน 700,000 ดอลล่าร์ (ประมาณ
17,500,000 บาท)
ให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนา ซึ่งก็คือ วัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปัจจุบัน
การจากไปของพระอาจารย์
พระอาจารย์ท่านมีปัญหาเรื่องปอดไม่แข็งแรงมานานแล้วในช่วงระยะ
1 ปีที่ผ่านมา ท่านต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคปอดติดเชื้อมาตลอด (ประมาณ 4-5
ครั้ง) ครั้งสุดท้ายก่อนที่ท่านจะละสังขารนี้ พระอาจารย์ท่านเข้ามารักษาองค์ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธและหัวใจท่านได้หยุดเต้นไปแต่เป็นบุญที่คณะแพทย์และพยาบาลได้ถวายการรักษาได้ทันท่วงทีจึงสามารถช่วยท่านไว้ได้
ตลอดระยะเวลาที่ทำการรักษา พระอาจารย์ท่านมักจะปรารภเนือง ๆ ว่าท่านอยากกลับไปวัด
จนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พระอาจารย์ท่านแข็งแรงขึ้นมากและแพทย์เห็นสมควรให้ท่านเดินทางกลับบุรีรัมย์ได้
พระอาจารย์ท่านสดใสขึ้นมาก
เมื่อได้กลับไปที่วัดป่าเขาน้อยอาการท่านก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ
แข็งแรงมากพอที่จะไปโปรดญาติโยมที่วัดป่าปราสาทจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ได้ พระอาจารย์ท่านเมตตาพำนักที่วัดป่าปราสาทจอมพระและแสดงธรรมโปรดญาติโยมประมาณ
1 อาทิตย์คือช่วงวันที่ 13 มี.ค. ถึง 20 มี.ค. จึงได้กลับเดินทางกลับวัดป่าเขาน้อย
หลังจากที่พระอาจารย์ท่านเดินทางกลับมาพำนักที่เขาน้อยได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์
พระอาจารย์ท่านมีอาการอ่อนเพลียมาก
จนต้องพาท่านเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนบุรีรัมย์
หลังจากที่ท่านได้เข้าไปรักษาตัวได้ 2 วัน อาการดีขึ้นมาก แพทย์ที่ถวายการรักษา
ขอดูอาการ ซึ่งหากไม่ทรุดลงไปก็จะอนุญาตให้กลับวัดได้
แต่แล้วอาการของพระอาจารย์ท่านก็เริ่มทรุดลงเมื่อวันที่
2 เม.ย.และอาการหนักในคืนวันที่ 3 เม.ย. เนื่องจากโรคปอดติดเชื้อที่แทรกซ้อนขึ้นมา
เช้าวันที่
5 เป็นวันที่ศิษยานุศิษย์ใกล้ชิดและแพทย์ต้องตัดสินใจ แพทย์แนะนำให้เจาะคอพระอาจารย์ท่านแต่เมื่อประชุมกันแล้ว
ลงความเห็นว่าไม่สมควรเจาะคอ เพราะจะเพียงแค่ยืดอายุขัยท่าน
แต่ก็จะทรมานองค์หลวงปู่มากมาย แพทย์หลาย ๆ
คนพยายามติดต่ออาจารย์หมอที่ชำนาญทางปอดเพื่อให้เดินทางมาถวายการรักษาที่บุรีรัมย์
ประมาณช่วงเที่ยงวันนั้นองค์หลวงปู่ท่านแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ที่จะละสังขารด้วยการค่อย
ๆ ถอนให้เห็น โดยปกติคนที่ป่วยหนัก ตัวเลข ที่แสดงถึงความมีชีวิตอยู่อาทิ ความดันขึ้นๆลงๆ
ชีพจร จะเต้นช้าบ้างเร็วบ้าง แต่ของพระอาจารย์ท่านจะคงที่ ค่อย ๆ
ลดลงเป็นลำดับให้เห็นว่าองค์ท่านควบคุมได้ และไม่ประสงค์จะครองสังขารอีกต่อไป
คณะศิษยานุศิษย์จึงเตรียมนำองค์ท่านกลับคืนสู่วัด แต่ก็ไม่ทันการ
พระอาจารย์ท่านละสังขารด้วยสติที่พร้อมบริบูรณ์เมื่อเวลา
13.12 น.ของวันที่ 5 เม.ย. 2545 สิริอายุรวมได้ 82 ปี 7 เดือน 7 วัน ( 62 พรรษา )
ปฏิปทาของพระอาจารย์
สมัยที่ท่านมาอยู่ที่เขาน้อยใหม่
ๆ นั้น ไม่มีอะไรเลย นอกจากกุฏิเล็ก ๆ 2 หลังเป็นกุฏิชั้นเดียว ห้องเดียว
มีลานเล็ก ๆ ตรงกลางหากแต่ลานเล็ก ๆ กุฏิเล็ก ๆ นี้เองที่ใช้เป็นที่แสดงธรรม
และสอนกรรมฐานทุกเย็น
พระอาจารย์ท่านจะเมตตาญาติโยมมากไม่ว่าจะมากันกี่คน
2 คน 3 คน หรือมากกว่านั้นองค์ท่านจะนำทำวัตร แสดงธรรม
และปฏิบัติภาวนาทุกวันท่านจะให้ความสำคัญกับการภาวนามากพี่ ๆ เล่าว่า
ท่านไม่เคยเบื่อ หรือหงุดหงิดกับความดื้อรั้นขี้เกียจ
หรือความเขลาของเหล่าศิษย์เลยท่านคงความเมตตาที่เปี่ยมล้นอย่างสม่ำเสมอจนแม้แต่คนที่ไม่น่าจะเอาดีในด้านการภาวนา
ก็มีหลักในการภาวนาจนได้ ภาวนาเป็น
พระอาจารย์ท่านเคารพพ่อแม่ครูบาอาจารย์มากและท่านก็เคารพรัก
"พระอาจารย์มหาบัว บ้านตาด" เป็นนักหนา
แม้ในช่วงที่ท่านไปปฏิบัติหน้าที่เป็นธรรมทูตที่อเมริกา
ทุกครั้งที่ท่านเดินทางกลับมาเมืองไทย ถ้าหากพระอาจารย์มหาบัว อยู่ที่สวนแสงธรรม
ท่านจะตรงไปสวนแสงธรรมหรือหากพระอาจารย์มหาบัว อยู่ที่บ้านตาด
ท่านก็จะเดินทางไปที่บ้านตาดเพื่อกราบพระอาจารย์มหาบัวก่อนที่จะกลับไปที่วัดของท่านเอง
พระอาจารย์ท่านมักจะพูดน้อย
แต่นุ่มนวลท่านมักจะปรารภเรื่อย ๆ ว่าท่านไม่ทนญาติโยมเหมือนพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ฝั้น
และพระอาจารย์มหาบัว บ้านตาดแต่ในความเป็นจริงแล้ว
ไม่เคยมีผู้ตกทุกข์คนไหนที่ดั้นด้นไปกราบพระอาจารย์แล้วท่านจะไม่เมตตา จะให้ทั้งที่พัก
ทั้งปัจจัย และที่สำคัญ คือท่านที่เป็นเสมือนที่พักใจ ให้ผู้มีทุกข์ ได้พักอาศัย
แม้ในช่วงหลังมาที่พระอาจารย์ท่านประสบอุบัติเหตุเป็นอัมพาตครึ่งองค์ทุก
ๆ เช้า ท่านจะเมตตาลงมาที่ศาลาโรงฉันและบิณฑบาตในรถเข็น
เพื่อให้ญาติโยมได้สร้างบุญกุศลโดยทั่วหน้าก่อนฉัน หากสังขารท่านเอื้ออำนวยพระอาจารย์ท่านจะเมตตาแสดงธรรมสั้น
โปรดญาติโยมอย่างสม่ำเสมอพระอาจารย์ท่านมักจะเน้นให้เราหมั่นอนุโมทนาบุญเพื่อสร้างเสริมกุศลจิตในใจและอานิสงค์ของการแผ่เมตตาพระอาจารย์ท่านจะเน้นเราให้สร้างสมความดี
ละชั่วหมั่นตรวจสอบตนเอง และปฏิบัติภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
ท่านเคยเมตตาสอนว่า
"การปฏิบัติภาวนานั้น เราจะเลือกปฏิบัติ
เฉพาะเวลาสุขนั้นไม่ได้เราต้องปฏิบัติภาวนาให้ได้ ทั้งในเวลาสุข และทุกข์" พระอาจารย์ท่านจะเมตตาทั้งพระทั้งโยมที่ปฏิบัติภาวนายิ่งนักเมื่อไหร่ที่ติดขัดในการภาวนาเพียงแต่โผล่หน้าไปให้ท่านเห็นท่านก็จะเมตตาแก้ไขข้อข้องจิต
ข้องใจให้
นอกจากมนุษย์แล้ว พระอาจารย์ท่านยังมีเมตตาต่อสัตว์ชนิดต่าง
ๆ มากมายท่านมีทั้งปลา นกกะทา ไก่ป่า นกกาเหว่า และอื่น ๆ ท่านรักต้นไม้มาก
มักจะหาพันธุ์ไม้แปลก ๆ ต่าง ๆ มาปลูกที่เขาน้อยอย่างสม่ำเสมอ
คำสอน
การประดับตกแต่งไม่มีสิ่งใดที่จะงามเท่าการประพฤติธรรม
เรียกว่า ธรรมลังการ เครื่องประดับ คือ ธรรม ประดับกายให้เรียบร้อย
ประดับวาจาให้เรียบร้อย ประดับจิตให้มั่นคง หนักแน่น สงบเสงี่ยม เรียบร้อย ผ่องใส
สะอาด
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความสุขที่แท้จริง ทำใจให้สงบ
สัมมาทิฏฐิ
ผลของกรรม
ฟังด้วยความเคารพ สัมมาสมาธิ
นิวรณ์ ๕ แก้ด้วยสติ สติ สมาธิ ศรัทธา
ปัญญา ความเพียร
ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร
หลักการปฏิบัติ
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
กายคตาสติ
จิตตานุปัสสนา สนทนาธรรม
หลักการปฏิบัติเพื่อข้ามทุกข์
ดูกายในกาย
การปฏิบัติทางตรงที่สุด
การเห็นกายในกาย
อริยมรรค
การออกจากห้วงอวิชชา
การปฏิบัติตรงที่สุด
การทำตวามเพียร
การใช้ปัญญาปราบทิฏฐิ
หลักการทำสมาธิ
การเข้าและออกจากสมาธิ
การใช้สติคุมจิต
ยึดหลักการปฏิบัติ
ปัญญาคือกำลังสูงสุด
นักปฏิบัติ ปัญญาอันชอบ
ของแท้ของเทียม
อบรมให้รู้ในขันธ์ ๕
สังขารไม่เที่ยงเป็นทุกข์
จิตตั้งมั่น
อย่าส่งจิตออกนอกกาย
ความพอดีทางสายกลาง
ปัญญาเกิดจากการภาวนา