Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อค / เว็บ

Tuesday, February 26, 2013

อานาปานสติกรรมฐานของพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร พระอริยสงฆ์ไทย อัฐิเป็นพระธาตุ รวบรวมโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์


อานาปานสติกรรมฐาน
ของพระอาจารย์ท่านพ่อลี ธมฺมธโร 
พระอริยสงฆ์ไทย อัฐิเป็นพระธาตุ




จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

ลำดับอานาปานสติ
ของพระอาจารย์ท่านพ่อลี ธมฺมธโร 


 1. เวลาเรานั่ง ถ้าเรายังสังเกตลมไม่ได้ก็ให้ตั้งใจว่า “เราจะหายใจเข้า เราจะหายใจออก” 

(คือ เราจะเป็นผู้หายใจ ไม่ใช่ปล่อยให้มันหายใจเองโดยธรรมชาติ)
ตั้งสติทำดังนี้ทุกครั้งที่หายใจ แล้วเราก็จะจับลมได้


2. การมีสติกั้นจิตให้รู้อยู่ในตัว

ไม่ใช่หมายความว่า ให้กั้นโดยกักขัง ได้แก่ การสะกดจิต สะกดลม กลั้นลม จนเกิดความอึดอัดขาดความอิสระ อย่ากลั้นลม หรือสกัดลมไว้ ต้องปล่อยให้จิตอยู่เฉยๆ ให้มีอิสระตามสภาพของมัน เพียงแต่คอยกันจิตไว้ให้อยู่คนละทางกับอารมณ์เท่านั้น ถ้าไปสะกดจิตสะกดลมเข้าแล้วก็จะทำให้ร่างกายอึดอัดทำการงานไม่สะดวก อาจทำให้ปวดให้เมื่อยบ้าง ทำให้ขัดยอกบ้าง หรือทำให้มึนชาเป็นเหน็บก็ได้ ฉะนั้น จึงต้องปล่อยให้จิตอยู่โดยธรรมดาของมันเอง คอยระวังแต่ไม่ให้วอกแวกหรือยื่นออกไปในสัญญาอารมณ์ภายนอกอย่างเดียวเท่า นั้น
 

3. การกั้นจิตไม่ให้ยื่นออกไปหาสัญญา หรือกั้นสัญญาไม่ให้ยื่นเข้ามาถึงจิต

นี้ก็เหมือนกับเราปิดประตูหน้าต่างบ้าน ของเรา ไม่ให้แมว สุนัขหรือผู้ร้ายเข้ามาในบ้าน ได้แก่ การปิดทวารทั้ง 6 เสีย คือ



     1)   จักขุทวาร    รูปต่างๆ ที่รับจากทางตา


     2)   โสตทวาร     เสียงทั้งหลายที่ได้ยินจากทางหู


     3)   ฆานทวาร    กลิ่นทั้งหมดที่ได้รับจากทางจมูก


     4)   ชิวหาทวาร  รสทุกชนิดที่ได้รับจากทางลิ้น


     5)   มโนทวาร     อารมณ์ต่างๆ ที่กระทบทางใจ


     6)   กายทวาร     สิ่งสัมผัสต่างๆ ที่กระทบทางกาย

สัญญาที่เกิดจากทวารทั้ง 6 นี้ ทั้งดีและไม่ดี ทั้งเก่าและใหม่ ต้องตัดทิ้งให้หมด
 

4. สัญญา

คือ ทูต หรือสื่อ แห่งความชั่วร้าย เพราะเป็นผู้นำมาแห่งความทุกข์เดือดร้อน ถ้าเราคบมันไว้ก็เท่ากับเราเป็นใจให้ผู้ร้ายมาปล้นบ้านของเราเอง ทรัพย์สมบัติของเรา ก็มีแต่จะพินาศหมดไปไม่มีอะไรเหลือติดตัว
 

5. นิวรณ์ต่างๆ 

เกิดจากสัญญา อดีตบ้าง อนาคตบ้าง ถ้าจะเปรียบก็จะเหมือนกับต้นหญ้าต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในนาหรือที่ดินของเรา มีแต่จะแย่งอาหารต้นไม้อื่นและทำให้พื้นดินรก หาประโยชน์อันใดมิได้ จะมีประโยชน์ก็แต่สัตว์ เช่น วัว ควาย ช้าง ม้า เคี้ยวกินเป็นอาหารนั้น เพราะเป็นธรรมชาติของมันจะต้องกิน ถ้าใครปล่อยให้ที่ดินของตนรกไปด้วยหญ้าแล้ว


 พืชผลที่เกิดจากที่ดินนั้นก็ย่อมงอกงามเจริญขึ้นมาไม่ได้ ฉันใดก็ดี ถ้าเราไม่มีสัญญาอารมณ์ออกจากใจแล้ว เราก็จะไม่สามารถทำดวงจิตของเราให้ผ่องใสบริสุทธิ์ได้สัญญาเป็นอาหารของคนโง่ ที่เห็นว่าเป็นของเอร็ดอร่อย แต่นักปราชญ์บัณฑิตท่านจะไม่ยอมบริโภคเลย
 
6. นิวรณ์ 5 

ที่เปรียบเหมือนกับต้นหญ้านั้นย่อมมีลักษณะอาหารต่างๆ กัน
 
-กามฉันทะ             

ก็ได้แก่ใจที่กำหนัดยินดีและเพลิดเพลินไปในอารมณ์

-พยาบาท               


ใจที่ไม่ชอบ มีโกรธ มีเกลียด มีชัง เป็นต้น

-ถีนมิทธะ               


ใจที่เหงาหงอย ง่วงซึม หดหู่ ไม่เบิกบาน

-อุทธัจจ กุกกุจจะ  

ใจที่หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญ

-วิจิกิจฉา                

ใจที่ลังเลสงสัยในศีลธรรมในข้อปฏิบัติของตน
 
ทั้งหมดนี้ “อุทธัจจกุกกุจจะ” ดูเหมือนจะเป็นหญ้าที่มีพิษร้ายแรงกว่าอย่างอื่นทั้งหมด เพราะมีทั้งหงุดหงิดฟุ้งซ่าน และรำคาญใจ เป็นหญ้าประเภทมีหนามและใบของมันก็คมด้วย ถ้าใครถูกเข้าก็ต้องมีพิษแปลบปลาบและแสบร้อนไปทั้งตัว

ฉะนั้น จงพากันทำลายมันเสีย อย่าให้มันมีขึ้นได้ในพื้นที่นาของเราเลย
 
7. อานาปานสติภาวนา 

เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ให้เป็นหลักปฏิบัติ สำหรับขับไล่และปราบนิวรณ์ต่างๆ เหล่านี้ให้หมดสิ้นไป คือ การภาวนาที่ใช้สติกำหนดอยู่กับลมหายใจ

-วิตก  ได้แก่  การกำหนดลม
-วิจาร ได้แก่  การขยายลม


-วิตกวิจาร เป็น กาเย กายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วย คือ พิจารณาลมในกองธาตุ หรือพิจารณากายในกาย
 
-วิตก เปรียบกับไถ
-วิจารเปรียบกับคราด

ถ้าเราเพียงใช้ไถกับคราดบนที่นาของเราเสมอๆ แล้ว หญ้าทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้นได้ พืชพันธุ์ที่หว่านไว้ก็จะเกิดผลงอกงามไพบูลย์ พื้นที่นาซึ่งเปรียบเหมือนกับร่างกายของเรา คือ ธาตุ 4 ก็สงบ 

ธาตุดินก็ไม่กำเริบ ธาตุน้ำก็ไม่เสีย ธาตุไฟก็ไม่อ่อน ธาตุลมก็ไม่กล้า ทุกๆ ธาตุก็ตั้งอยู่ปรกติ ไม่มีความยิ่งหย่อน มีความเสมอภาคกัน หมดทุกๆ ส่วน ร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอาการเจ็บไข้ อากาศก็โล่ง ใจก็โปร่ง ปราศจากนิวรณ์
 
8. เมื่อเราปราบพื้นที่ของเราราบเรียบแล้ว ต่อไปนี้พืชมหากุศล คือ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณก็จะผุดขึ้นในดวงจิตดวงใจของเรา ยกจิตขึ้นสู่ลมหายใจ ก็จะเกิดความปีติ ความอิ่มใจ 

อิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ ความรักความพอใจชอบใจในข้อปฏิบัติของตวิริยะ ความพากเพียรบากบั่นไม่ทอดทิ้งในข้อปฏิบัติของตน 
จิตตะ ความมีจิตใจจดจ่อในสิ่งที่ตนกระทำอยู่เสมอ
วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญในข้อปฏิบัติของตนก็ย่อมเจริญขึ้นเป็นลำดับ
 
อิทธิบาทนี้เปรียบเหมือนกับขาตู้หรือขาโต๊ะ 4 ขาที่ยันไว้ให้วัตถุนั้นตั้งตรงไม่คลอนแคลน เป็นอำนาจอันหนึ่งที่จะพยุงตัวเราให้แข็งแรงและก้าวไปสู่ที่สูงได้จะเปรียบอีกอย่างหนึ่งก็เหมือนกับเครื่องยา 4 สิ่งที่ประกอบกันขึ้นแล้วก็กลายเป็นยาอายุวัฒนะอย่างวิเศษขนานหนึ่ง ซึ่งใครกินแล้วไม่ตาย มีอายุยืน 

ถ้าใครอยากตายก็ไม่ต้องกิน ถ้าใครไม่อยากตายก็กินให้มากๆ ยิ่งกินได้มาก โรคที่เกาะกินใจของเราก็จะหายเร็ว คือ กิเลสมันตาย ฉะนั้น ถ้าใครรู้ตัวว่าเป็นโรคมากก็ควรกินยาขนาดนี้เสีย


9. การตัดสัญญาต่างๆ ไม่ได้หมายความว่าให้เราตัดความคิด เราไม่ได้ตัดความคิดนึกให้หายไป เป็นแต่น้อมความนึกคิดมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น มานึกตรวจตรองในข้อกัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่ง 

ถ้าเราให้จิตของเราทำงานอย่างนี้ เราก็จะไม่มีทุกข์และไม่เกิดโทษขึ้นแก่ใจและตัวเราเอง
 
10. ปกติจิตของเราก็ทำงานอยู่เสมอ แต่งานนั้นไม่เป็นเรื่องเป็นราว เป็นเรื่องวุ่นวาย ยุ่งๆ เหลวไหล ไม่มีสารประโยชน์ เราจึงต้องหางานที่มีสารประโยชน์มาให้จิตทำ คือ หาเรื่องดีๆ ไม่มีโทษ 

เรื่องที่เราทำนี้คือ อานาปานสติ ได้แก่ การตั้งใจกำหนดจริงของเราเอง หรือกำหนดลมหายใจของเราเอง เราจะงดเว้นงานอื่นทั้งหมด ตั้งหน้าทำงานนี้อย่างเดียว นี่เป็นจุดมุ่งหมายของการทำสมาธิ
--------------------------------------------------------




















 

พระพุทธสุภาษิตและสูตรอันเป็นมงคลสูงสุด 38 ประการ รวบรวมเขียนโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์

พระพุทธสุภาษิต

สูตรอันเป็นมงคลสูงสุด 38 ประการ



จัดทำโดย อ.สุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

พุทธสุภาษิต  Buddha's Proverbs:

แม้เป็นคนมีอิทธิพล มีความฉลาด มีคนนับถือ ถ้าอยู่ในอำนาจของสตรีเสียแล้วย่อมไม่รุ่งเรืองฉันใด เหมือนพระจันทร์ถูกราหูบังฉันนั้น
An eclipsed moon enjoys no brightness or splendor, nor does a man who is under a woman's influence, even though he may be influential, wise respected worshiped by the public.

อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก 
The vicious go to hell.

ทรัพย์สมบัติ ย่อมฆ่าคนโง่เขลา 
Riches ruin the foolish.

คนโง่ที่มีปัญญาทราม กำลังทำกรรมชั่วอยู่ก็ยังไม่รู้สึก
เขากำลังเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วที่ได้ทำแล้ว เหมือนเขากำลังถูกไฟไหม้อยู่
The wicked fool is unconsciousness in his doing evil deeds.
He will be tormented later on, as if being burnt, by the fruit of such evil deeds of his own.

กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่แดนนรก
One's own bad kamma (actions) lead oneself to hell.

ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
คนเป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ฉันใด ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉันนั้น
Men are persistently spun by desire. Like a bird caught in a snare,
they are tided with the rope of desire which is most difficult to cut away.

กรรมชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า กรรมชั่วย่อมแผดเผาได้ในภายหลัง
The evil deed is better left undone; for the evil deed torments afterwards.

ไม่ควรช่วยทำประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มุ่งความพินาศ
Never help those who have a malicious intention.

ทรัพย์สมบัติ ย่อมทำลาย/ฆ่าผู้มีปัญญาทราม
Wealth always leads the fool to destruction.

ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
An ungrateful person cannot be satisfied even with the gifts of the whole.

ถึงแม้ทำกรรมชั่วอยู่ คนพาลโง่เขลาเบาปัญญาก็ไม่รู้สึกตัว
And yet the fool doing evil deeds does not realize what he does.

ความโกรธครอบงำคนโง่เมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
Darkness reigned over him who is over powered by anger.

กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
Times eat up all beings as well as itself.


ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ตายแล้วก็ยังเศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เมื่อเขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อนภายหลัง
A sinful person, having realized his evil deeds has to experience a two fold regret, i.e. in this present life and in the hereafter.

ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว ละได้ด้วยการทำดี ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉันนั้น
Who by his wholesome deeds remove the evil done. He illumines the world here and now like the moon emerging from the cloud.

ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปไม่มีในโลก
Never is there a secret place for those who who commit a sin.

ผู้ใดทำความชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพ่อแม่พี่น้อง ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
An evil person, committing a sinful act, obtaining money from his brothers or parents by defraud, will never have a real prosperity. Even the gods (Devada) do not honor him.


บ่อน้ำหน้าพระคันธกุฎี ที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
สิ่งที่เป็นมงคลสูงสุด 38 ประการให้แก่เทวดา
ณ วิหารเชตวัน ใกล้เมืองสารวัตถี 
แคว้นโกศล อินเดีย ในสมัยพุทธกาล

แผนที่ วิหารเชตวัน ตั้งอยู่ตอนใต้ของเมืองสารวัตถี 
แคว้นโกศล อินเดีย 

สูตรอันเป็นมงคล (สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดคุณความดีอันสูงสุด )
38 ประการ
เขียนโดย อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ
อ. สุชาติ ภูวรัตน์

พระพุทธเจ้าได้แสดงให้แก่เทวดาฟัง
ณ เชตวันวิหารใกล้เมืองสารวัตถี 
ในสมัยพุทธกาล มีดังนี้

1.  การไม่คบหาสมาคมกับคนพาล (ผู้ไม่รู้ทางพ้นทุกข์) ทั้งหลาย
     เป็นมงคลสูงสุด
2.  การคบหาสมาคมกับบัณฑิต (ผู้รู้ทางพ้นทุกข์) ทั้งหลาย 
     เป็นมงคลสูงสุด
3.  การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชาทั้งหลาย เป็นมงคลสูงสุด
4.  การได้อาศัยอยู่ในประเทศอันสมควรเหมาะสม เป็นมงคลสูงสุด
5.  การเป็นผู้ได้มีบุญที่ตนได้กระทำแล้วในกาลก่อน เป็นมงคลสูงสุด
6.  การตั้งตนไว้ถูกต้องชอบธรรม เป็นมงคลสูงสุด
7.  การได้ยินได้ฟังธรรมมาก เป็นมงคลสูงสุด
8.  การเป็นบุคคลมีศิลปะศาสตร์ เป็นมงคลสูงสุด
9.  การเป็นบุคคลที่มีวินัยอันได้ศึกษาดีแล้ว เป็นมงคลสูงสุด
10. การเป็นบุคคลที่มีวาจาอันกล่าวดีแล้ว เป็นมงคลสูงสุด
11.  การบำรุงบิดาและมารดา เป็นมงคลสูงสุด
12. การสงเคราะห์บุตรและภรรยา เป็นมงคลสูงสุด
13. การทำงานทั้งหลายโดยไม่ย่อท้อ ไม่คั่งค้าง หรือเกียจคร้าน 
      เป็นมงคลสูงสุด
14. การให้ทานรู้จักแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่น  เป็นมงคลสูงสุด
15. การประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ เป็นมงคลสูงสุด
16. การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย เป็นมงคลสูงสุด
17. การได้กระทำกรรมทั้งหลายซึ่งไม่มีโทษ เป็นมงคลสูงสุด
18. การงดเว้นจากการกระทำบาปทั้งปวง เป็นมงคลสูงสุด
19. การไม่ดื่มสุรา น้ำเมา เบียร์ ยาเสพติดทั้งปวง เป็นมงคลสูงสุด
20. ความไม่ประมาทในธรรมอันเป็นหนทางสู่ความพ้นทุกข์ทั้งหลาย
      เป็นมงคลสูงสุด
21. การรู้จักเคารพ อ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นมงคลสูงสุด
22. การไม่เป็นผู้เย่อหยิ่ง จองหอง เป็นมงคลสูงสุด
23. ความเป็นผู้สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นมงคลสูงสุด
24. ความเป็นผู้รู้คุณผู้อุปการะตน และได้ทำตอบแทนแล้ว 
      เป็นมงคลสูงสุด
25. การได้ฟังธรรมะหนทางพ้นทุกข์ ตามกาล เป็นมงคลสูงสุด
26. ความรู้จักอดทน อดกลั้น เป็นมงคลสูงสุด
27. ความเป็นผู้ว่านอน สอนง่าย ไม่ดื้อดึงดื้อรั้น เป็นมงคลสูงสุด
28. การได้เห็นพระอริยะสงฆ์ สมณะทั้งหลาย เป็นมงคลสูงสุด
29. การได้สนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลสูงสุด
30. การได้มีความเพียรเผากิเลสต่อเนื่อง เป็นมงคลสูงสุด
31. การได้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
      และทำสมาธิเข้าฌาน 1, 2, 3, 4 ทำได้บ่อยๆ เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น
      เป็นมงคลสูงสุด
32. การได้เข้าใจรู้แจ้งในพระอริยะสัจธรรมทั้งหลาย อันเป็นหนทาง
      ดับทุกข์ทั้งปวง เป็นมงคลสูงสุด
33. การปฏิบัติให้รู้แจ้งเข้าถึงพระนิพพาน  เป็นมงคลสูงสุด
34. จิตของบุคคลใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้วไม่หวั่นไหว
      เป็นมงคลสูงสุด
35. ความเป็นผู้ที่ไม่มีความโศกเศร้าเสียใจ เป็นมงคลสูงสุด
36. ความเป็นผู้ที่ปราศจากธุลีในใจ คือ ความขุ่นเคือง เศร้าหมอง
      คิดอาฆาต พยาบาท  เป็นมงคลสูงสุด
37. ความเป็นผู้มีจิตเกษม มีความสุข ร่าเริงในธรรม เป็นมงคลสูงสุด
38. ความเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ กิเลส ตัณหา ในที่ทั้งปวง เป็นมงคลสูงสุด


 


















เพลง มงคลชีวิต 38 ประการ Good for your life