Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อค / เว็บ

Friday, February 14, 2014

วันมาฆบูชา วันโอวาทปาฏิโมกข์ | Magha Puja Day รวบรวมจัดทำโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์


วันมาฆบูชา (วันโอวาทปาฏิโมกข์)  
Magha Puja Day



รวบรวมจัดทำโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจปฏิบัติธรรม
สู่ความพ้นทุกข์

วันมาฆบูชา (วันโอวาทปาฏิโมกข์ ) 
Magha Puja Day

วันมาฆบูชา
 วันมาฆบูชา คือ การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะของอินเดีย หรือเดือน 3
วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น 4 อย่างพร้อมกันเมื่อครั้งพุทธกาล เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนาดังนั้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
วันจาตุรงคสันนิบาต หรือวันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร (ป่าไผ่) อารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ
1. พระสงฆ์สาวก 1,250 รูปได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยไม่ได้นัดหมาย
2. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
   หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจาก พระพุทธเจ้าโดยตรง
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6
4. วันนั้นเป็นวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3  เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น
พิธีมาฆบูชาได้เริ่มขึ้นเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักรไทย

ปัจจุบันในประเทศไทย วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ
โดยพุทธศาสนิกชนจะประกอบพิธีต่างๆ เช่น ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียน  เพื่อการบูชารำลึกถึงวันมาฆะซึ่งเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ได้กล่าวถึงหลักคำสอนหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่
1. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม
3. การทำจิตของตนให้ผ่องใส
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของชาวพุทธโดยทั่วไป


วันมาฆบูชา  (Magha Puja Day)
เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน  
(ปลายกุมภาพันธ์ / ต้นมีนาคม)
วันนี้ ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล

Magha Puja Day:  the important Buddhist celebrations day  which is the full moon day of the 3 rd. lunar month (during last week of February or beginning of March).
This day marks the great four events that took place during Lord Buddha's lifetime, namely:

๑.  พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ได้เดินทางมาโดยไม่ได้นัดหมาย มาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าที่วัดเวฬุวันวิหาร 
ในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ 

 1.  1,250 Buddha's followers came to pay homage to Lord Buddha at Valuwan Vihara
      in Rajgaha, the capital of Magad ha State,  without any appointment.

๒. สาวกของพระพุทธองค์ทุกรูปล้วนได้บรรลุพระอรหันต์

2.  All  of  Buddha's followers were the enlightened  ( Arahants).

๓. พระอรหันต์เหล่านั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น 

3.  All of Buddha's followers had been ordained by Lord Buddha  (Ehi Bhikkhu).

๔. พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกมาประชุมกันเป็นวันเพ็ญเดือน ๓
4. Lord Buddha and His followers were assembled on the full moon day of the 3 rd.
   lunar month.
   
ในตอนเย็นวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" 
อันเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นพระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง นั่นคือ

๑.   การไม่ทำบาปทั้งปวง                      
      ( สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง )

๒.  การทำความดีให้ถึงพร้อม                 
      ( กุสะลัสสูปะสัมปะทา)

๓.  การทำจิตของตนให้ผ่องใส               
      ( สะจิตตะปะริโยทะปะนัง )

 นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  
      (เอตัง พุทธานะ สาสะนัง) 

On the evening of that day, Lord Buddha gave the assembly a discourse "Ovadha Patimokha" laying down the principles of His Teachings summarised into three acts, i.e. 
1. To abstain from all of bad actions
2. To do all of the good things
3. To purify of one mind. 
These are The Buddhas' Teachings.

ในอดีต พิธีมาฆบูชานี้ไม่เคยกระทำกัน เพี่งมาประกอบพิธีกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

"In the past, the Magha Puja was never performed, the ceremony has just been practised during the reign of King Mongkut (Rama IV)" 

นอกจากนี้ ยังมีคำสอนเพิ่มในวันมาฆะบูชาอีก ดังนี้:-

๑.  ความอดกลั้นเป็นตบะ อย่างยิ่ง   

     ( ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา )

๒. พระพุทธเจ้ากล่าวว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด  
     ( นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา )

๓. ผู้เข่นฆ่าสัตว์อื่น เบียดเบียนสัตว์ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ 

     หรือนักบวชเลย 
   
  ( นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต)

๔. การไม่กล่าว ว่าให้ร้าย  

     ( อะนูปะวาโท )

๕. การไม่เข่นฆ่า ล้างผลาญ  

     ( อะนูปะฆาโต )

๖.  การสำรวมในศีลและพระปาฏิโมกข์ 

     ( ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร )

๗. การบริโภคพอประมาณ  

     ( มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง )

๘. การนั่ง หรือนอนในที่มีความเงียบสงัด 

     ( ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง )

๙.  การประกอบความเอื้อเฟื้อและเพียรเผากิเลสในจิตอันยิ่ง

     ( อะธิจิตเต จะ อาโยโค ) 

 นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 

     ( เอตัง พุทธานะ สาสะนันติ )



 



No comments:

Post a Comment