Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อค / เว็บ

Sunday, March 3, 2013

พระพุทธสภาษิต | Buddha's Proverbs การละสังโยชน์ 10 รวบรวมเขียนโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์

พระพุทธสภาษิต | Buddha's Proverbs 

และการละสังโยชน์ 10






จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
และผู้สนใจปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์

พระพุทธสภาษิต  Buddha's Proverbs:


ใครทำความชั่ว ก็ย่อมเศร้าหมอง ใครไม่ทำความชั่ว ก็ย่อมไม่เศร้าหมอง ความเศร้าหมองเพราะทำความชั่ว ความปลอดจากความชั่ว เป็นของเฉพาะตน ผู้ใดจะทำให้คนอื่นปลอดจากความชั่วย่อมไม่ได้


By oneself, indeed, is evil done; by self is one defiled, by oneselflf is evil left undone; by oneself, indeed, is one purified. Purify and impurity depend on oneself. No one purifies another.


ผู้ทำบาปย่อมเศร้าหมองเอง 
You are strained by your own evil deeds.


ผู้คบคนเลว ย่อมเลวลง 

He who associates with the worse becomes worse.



ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
คนเป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ฉันใด ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉันนั้น
Men are persistently spun by desire. Like a bird caught in a snare, they are tided with the rope of desire which is most difficult to cut away.


ถึงแม้ทำกรรมชั่วอยู่ คนพาลโง่เขลาเบาปัญญาก็ไม่รู้สึกตัว
 

yet the fool doing evil deeds does not realize what he does.


ความโกรธครอบงำนรชนใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น
 

Darkness reigned over him who is over powered by anger.


กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
 

Times eat up all beings as well as itself.


ังโยชน์ 
คือ เครื่องผูกมัดร้อยรัดให้ข้องติดอยู่กับโลก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติ มี 10 ประการ

1.      มีความเข้าใจว่ารูปคือร่างกาย ที่จิตวิญญาณอาศัยอยู่ เป็นของตนแน่นอน แต่แท้ที่จริงแล้ว ร่างกายเป็นของบิดามารดาผู้ให้กำเนิดมา จิตวิญญาณ (ปฏิสนธิวิญญาณ) เข้ามายึดครองภายหลัง
    
     เหมือนบิดามารดาเป็นผู้ผลิตรถยนต์ คนซื้อรถฯ คือจิตวิญญาณ เข้ามาครอบครองเป็นเจ้าของมีใบทะเบียนว่าเป็นของตนตามกฎหมาย (กฎที่คนสร้างขึ้น) 

    ต่อมา รถฯ ก็เริ่มเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ถ้าเป็นร่างกายคนก็แก่เฒ่าเจ็บป่วยตามธรรมชาติแล้วก็ผุพังเปื่อยเน่าเป็นดินทับถมอยู่บนพื้นโลก 

    เมื่อจิตวิญญาณหรือเจ้าของร่างอยากได้ (ตัณหา) กายใหม่ก็ต้องแสวงหาที่เกิดใหม่ในภพ (ที่ไปเกิดทั้ง 3 มีสวรรค์ โลก และนรก) อยู่เรื่อยไปตามผลของกรรม (การกระทำ) ถ้าเกิดอุบัติเหตุ คว่ำ จมน้ำ ถูกลักขโมย ไฟไหม้ ก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น

    สมมุติ ว่ามีบุญทุนทรัพย์มากก็ไปซื้อรถฯ ราคาแพงหรือเครื่องบินก็แล้วแต่จะเลือกเอา แต่ผลสุดท้าย ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ใช้ไปสักระยะหนึ่ง ก็เก่าแก่ผุพังไปอีกตามธรรมชาติ

วิธีแก้ไข ต้องพิจารณารูปคือร่างกายให้เห็นว่าเป็นของไม่สวยไม่งามเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ความเสื่อมตามกาลเวลา ไม่ได้คงทนถาวร เมื่อแก่แล้วผมก็หงอก ขนหนวดเคราก็ขาว เล็บก็หลุดได้ฟันก็โยกคลอนหลุด หนังก็เหี่ยวย่อน จะเสียเงินบำรุงเท่าไหร่ ก็ไม่อาจทำให้หนุ่มสาวเหมือนเดิม 


ในที่สุดเมื่อร่างกายหมดลมหายใจ ไฟธาตุก็ดับ ร่างกายก็เย็นซีดบวมเขียว มีน้ำเน่าเหม็นไหลออกมา เนื้อหนังก็สลายไป เหลือแต่กระดูกๆ ค่อยๆ กลายเป็นธาตุดินตามกาลเวลา  
    
     เมื่อจิตมีปัญญาเข้าใจตามความเป็นจริง ก็เบื่อหน่ายในร่างกายหรือพาหนะเหล่านั้นก็ทำให้ยุติการแสวงหาที่เกิดใหม่

2.    ความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายหรือพระธรรม คือทางพ้นทุกข์ทั้งปวง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติ (เกิด) 

    บางคนสงสัยว่าพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้มีจริงหรือ? พระอริยสัจ 4 ทำให้พ้นทุกข์ได้จริงหรือ? พระอริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์มีจริงหรือ? นรก สวรรค์ มีจริงหรือ ? ผลของกรรมทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มีจริงหรือ ? ดังนี้เป็นต้น

   เมื่อยังไม่เชื่อทางพ้นทุกข์มีอริยสัจ 4 เป็นต้น ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติ

วิธีแก้ไข ต้องมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เข้าใจในอริยสัจ 4 ตามความเป็นจริงว่าเกิดมามีความทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เพราะกิเลส 3 ตัณหา 3 และราคะ

ประการ ต้องใช้ความอดทนและปัญญาพิจารณาให้เห็นทุกข์เห็นภัยกับการเวียนว่ายตายเกิด ต้องดับมันให้ได้จึงจะยุติการเกิดอีก

3.    การปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง เช่นรักษาศีล ปฏิบัติธรรมแบบลูบๆคลำๆ ไม่มีสมาธิ (ความตั้งมั่น) ก็ทำให้กิเลสตัณหาเข้ามาหาตนอยู่บ่อยๆ ทำให้เกิดทุกข์อยู่บ่อยๆเช่นกัน ขาดสติขาดความต่อเนื่องในปฏิบัติ แบบลูบๆ คลำๆ ก็ทำให้เวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติ
     
วิธีแก้ไข ต้องฝึกสติ รักษาศีลให้มั่นคง ฝึกสมาธิ ให้มีปัญญา พยายามดำเนินอยู่ในมรรค 8 ทางสู่ความพ้นทุกข์ยุติการเวียนว่ายตายเกิด เพราะผลของกรรมชั่วได้ยุติลงแล้ว 

4.   มีจิตใจหมกมุ่นอยู่ใน รูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส  ก็ทำให้เวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติ

วิธีแก้ไข ต้องพิจารณาให้เห็นโทษเห็นภัย ให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดอยู่เนืองๆ ต่อเนื่องกันไปจนสิ้นอายุ จึงจะยุติการเกิดอีก

5.   มีจิตใจขุ่นเคียง โกรธ ไม่พอใจ อยู่บ่อยๆ ก็ทำให้เวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติเช่นกัน

วิธีแก้ไข ต้องเป็นมิตร มีไมตรีต่อสรรพสัตว์ ทั้งที่มองเห็นและไม่เห็น ต้องอภัย อโหสิกรรมให้ ต้องคิดถึงความดีที่เขาทำให้ในกาลก่อน คือไม่เป็นศัตรู หรือคิดจองเวร (ผลัดกันทำ) ต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน  ไม่ทำบาปอีก ผลของการกระทำชั่วไม่มี ก็ส่งผลให้ยุติการเกิดใหม่อีก

ถ้าใครทำได้ 3 ข้อแรก ท่านว่าจะกลับมาเกิดอีก 7 ชาติ หรือ ถ้าปฏิบัติดีเยี่ยมก็เกิดอีก 1 ชาติ หรือท่านว่าเพิ่มข้อ 4 ข้อ 5 ด้วยปฏิบัติได้พอประมาณ ก็จะทำให้เกิดอีกเพียง 1 ชาติ แต่ท่านว่ายังประมาทอยู่ เพราะการเกิดมาก็เป็นทุกข์อีกนั่นแหละ 
         
ท่านว่าเมื่อผู้ใดปฏิบัติตัดเครื่องผูกมัดให้สัตว์โลกเกี่ยวข้องติดอยู่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ได้ 5 ประการเบื้องต้นได้แล้ว เชื่อได้ว่า จะไม่กลับมาเกิดอีก แต่ต้องไปบำเพ็ญต่อในชั้นที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์

ท่านว่าผู้ปฏิบัติต้องอาจหาญ ซื่อตรง ว่านอนสอนง่าย อ่อนโยน มีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับตนเอง ไม่เย่อหยิ่ง ไม่จองหอง ไม่ลบหลู่ดูหมิ่น ไม่ข่มเหงสัตว์อื่น  อยู่ง่าย กินง่าย เป็นผู้สันโดษ มีงานเบา มีความเป็นมิตรกับสรรพสัตว์ทั้งที่เห็นและไม่เห็น โดยไม่มีประมาณมีสติ ไม่ง่วง เป็นผู้มีศีลมั่นคง ไม่มีตัณหา มีจิตระงับแล้วในกามคุณทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญา ไม่คึกคะนอง ไม่พัวพันกับตระกูลทั้งหลาย ท่านว่าจะไม่กลับมานอนในครรภ์อีก 
        
ส่วนอีก 5 ข้อ เบื้องปลายนั้น มีดังนี้

1. ความกำหนัดยินดีในรูปต่างๆ เช่น การเข้าฌาน เพื่อไปเกิดในพรหมโลกที่มีรูป เป็นต้น


วิธีแก้ไข ไม่พึงปฏิบัติเพื่อต้องการไปเกิดในพรหมโลกที่มีรูป


2. ความกำหนัดยินดีในสิ่งไม่มีรูปต่างๆ เช่น การเข้าฌาน เพื่อไปเกิดในพรหมโลกที่ไม่มีรูป เป็นต้น

วิธีแก้ไข ไม่พึงปฏิบัติเพื่อต้องการไปเกิดในพรหมโลกที่ไม่มีรูป


3. ความเข้าใจว่าตนดีกว่าผู้อื่น เสมอเหมือนหรือเท่าผู้อื่น หรือด้อยกว่าผู้อื่น คือภายในจิตยังมีตัวตนอยู่ทุกขณะ ไม่ปล่อยวาง

วิธีแก้ไข ต้องละความเป็นตัวตนออกทิ้งไป ไม่ใยดีกับตัวตนอีก


4. ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบ

วิธีแก้ไข ต้องภาวนาให้จิตสงบอยู่เสมอเหมือนลูกโซ่หรือสายน้ำไหล ไม่ฟุ้งซ่านไปกับอารมณ์ต่างๆ มีปัญญารู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นทุกขณะจิต จึงจะสงบได้ตลอดเวลา


5. ความไม่รู้ตามความเป็นจริงถึงผลของกรรม ที่ส่งผลมาจากอดีต และส่งผลไปสู่อนาคต และไม่รู้วิธีทำให้ผลของกรรมหมดไปได้อย่างไร 


วิธีแก้ไข ต้องเลิกคิดถึงอดีตและอนาคต เลิกทำกรรมบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม และทำจิตให้ผ่องใสเสมอก่อนดับขันธ์สู่ทางพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง คงเหลืออยู่แต่ความสงบสุขในปัจจุบันอย่างแท้จริง 


ท่านว่า ควรได้รับการถ่ายทอดภาคปฏิบัติและตรวจสอบโดยผู้มีจิตผู้บริสุทธิ์แล้วจะดีกว่า ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ ก็จะเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้แต่กระดูกอัฐิก็บริสุทธิ์ด้วย  รับรองว่าไม่ต้องกลับเกิดอีกแน่นอน  



ขียนโดย อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ 
อ. สุชาติ ภูวรัตน์   










----------------------------------------------------------------------------------------------------------
















No comments:

Post a Comment