Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อค / เว็บ

Monday, February 25, 2013

ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามีสิทธิ์ถึงพระนิพพาน, ขันธ์ 5, สัญญา 10, มรรค 8 เขียนโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์

 ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามีสิทธิ์ถึงพระนิพพาน, ขันธ์ 5, สัญญา 10, มรรค 8

 

ผู้ปฏิบัติดีมีศีลธรรม สติ สมาธิ ปัญญา 
ละกิเลส ตัณหา ราคะ
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ย่อมมีสิทธิ์เข้าถึงพระนิพพาน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
และผู้สนใจปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์

พุทธศาสนา มีคุณประโยชน์มหาศาล ให้บุคคลปฏิบัติตาม ได้ทุกกาลสมัย ผู้ใดเข้าถึงธรรมก็สามารถบรรลุถึงพระนิพพานได้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นพุทธบริษัทใดๆ ถ้าปฏิบัติได้ตามที่ท่านสอน ย่อมบรรลุถึงปรินิพพาน 

พุทธบริษัทใด ไม่เข้าใจพระธรรม ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เพื่อความพ้นทุกข์ ท่านว่าเหมือนทัพพีในหม้อแกงย่อมไม่รู้รสแกงฉันใดก็ฉันนั้น  เพราะมัวก่อสร้างปฏิมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ปลุกเสกปฎิมากรรมน้อยๆ แต่มีราคาแพงค้าขายกันราคาเป็นแสนเป็นล้านคนก็พากันหลงวัตถุนิยมที่ไม่ใช่ทางนำไปสู่พระนิพพาน 

ในปัจจุบันนี้หลงทางมากเหลือเกิน ไม่ได้ปฏิบัติตามที่ท่านสอนไว้

สร้างพระไตรปิฎกใส่ตู้ใส่กุญแจ สร้างพระปฏิมาด้วยวัสดุราคาแพงใส่กรงใส่ตู้เสมือนท่านติดคุกติดตราง บ้างก็สร้างไว้ตากแดดตากฝน ไม่ได้เคารพนับถือ เห็นท่านเป็นวัตถุทนแดดทนฝนทนพายุ 

แม้จะกราบไหว้กันมากมายจนหัวเถลิกก็ยังไม่ได้ชิมรสแกง ยังไม่เข้าใจคำสอนของท่าน เพราะมัวหลงขอให้ท่านช่วย แต่ไม่ช่วยตนเองมัวหลงอิทธิฤทธิ์ และแสวงหาความร่ำรวยเกินความจำเป็น

พระพุทธเจ้าท่านสละสมบัติ ยศฐาบรรดาศักดิ์มุ่งแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ยุติการเวียนว่ายตายเกิด จนพบหนทางยุติการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว ท่านได้ประกาศอริยสัจสี่หนทางแห่งการดับทุกข์ยุติการเกิดแล้ว 
ให้แก่พุทธบริษัท ๔ ทุกคน

พุทธบริษัทใดยังหลงทางทำอะไรกันอยู่ ทำไมไม่เดินตามท่านไป? หรือว่าไม่เชื่อถือคำสอนของท่าน ทางเดินสายกลางท่านก็บอกให้แล้ว ไม่ต้องทรมานร่างกายอย่างที่ท่านได้อดอาหารกลั้นลมหายใจจนขนหลุดร่วง พุทธบริษัทใด ยังไม่เข้าใจ หลงเดินไปทางอื่นๆ

ท่านว่าพระนิพพานอยู่เบื้องหน้า ทำไมไม่ว่ายข้ามไปให้ถึงฝั่งไม่ต้องกลับมาเกิด แต่พุทธบริษัทใดๆ ยังว่ายน้ำตามกระแสน้ำข้างๆชายฝั่ง ไม่ได้ทำตามที่ท่านสอนไว้ ไม่ได้เอากิเลสตัณหาออกไปจากใจ แต่กลับสะสมเอาไว้อวดกันทำไม ? ไม่เชื่อคำสอนของท่านหรือ ?

ทำไมหันไปเชื่อถือวัตถุอิฐหินดินปูนเงินทองทองแดงทองเหลืองทองคำ ไม่เชื่อคำสอนของท่าน ? เมื่อไหร่จะพากันไปถึงปรินิพพานทางพ้นทุกข์ยุติการเกิด สงสัยยังแห่เทียนกันอีกหลายชาติ ไฟฟ้าก็มีให้ใช้แล้ว ทีวีก็มีให้ดู เทปก็มีให้ฟังธรรม พระผู้ปฏิบัติตามจนอัฐิเป็นพระธาตุก็มีมากหลายรูปในไทย เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าพระธรรมไม่มีกาลสมัย ปฏิบัติตามเมื่อไหร่ก็บรรลุมรรคผล

เมื่อก่อนนั้นท่านสอนให้อยู่ใต้ต้นไม้ อยู่ถ้ำ เดี๋ยวนี้ร่ำรวย อยู่ตึกมีพัดลมติดแอร์ กิจสี่ ท่านบอกให้เดินไปพบคนที่ใจบุญบริจาคอาหารให้ดำรงชีพเพื่อจะได้ปฎิบัติดี เดี๋ยวนี้มีรถราคาแพงให้ใช้

ท่านบอกให้ไปหาผ้าที่เขาทิ้งคุกฝุ่นเอามาซักให้สะอาดตัดต่อเป็นบิ้งนาย้อมน้ำฝาด ไว้นุ่งห่มกันอายกันหนาวกันยุงแมลงกัด เดี๋ยวนี้มีสำเร็จรูปสวยๆให้ห่ม บ้างก็หลงติดสีจีวร เป็นแฟชั่น ท่านบอกให้ดื่มยาดองสมอกับน้ำปัสสาวะบำบัดโรค เดี๋ยวนี้มียารักษาโรคราคาแพงๆมากมายซึ่งเป็นของต่างชาติๆ ไม่ได้ประหยัดตามท่านสอนไว้

ในสมัยนี้การปฎิบัติตามท่านสอนน่าจะสะดวกกว่าสมัยก่อนมากมาย 

พุทธบริษัทใดๆ กำลังทำอะไรอยู่ ทำไมไม่สนใจปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์ไม่ต้องเกิด เงินทอง ท่านสละแล้ว ทรัพย์สมบัติยศฐาบรรดาศักดิ์ท่านสละแล้ว กิเลสตัณหา ท่านสละแล้ว ทุกข์ท่านดับแล้ว ท่านถึงพระปรินิพพานแล้ว ท่านไม่เกิดแล้ว แต่พุทธบริษัท ๔ ทำอะไรกันอยู่  

พุทธบริษัท จะไม่เดินตามท่านไปหรือๆ จะเดินหลงทางไปที่ไหนกัน ?


เขียนจากประสบการณ์ด้านปฏิบัติภาวนา
โดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ

เมื่อพิจารณาอสุภะ คือร่างกายที่ไม่สวยไม่งามเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

บ่อยๆ จิตใจจะพยายามหนีออกจากร่างกายเพราะเบื่อหน่ายในรูปที่

เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เมื่อได้พิจารณากายของตนก็เป็นเช่นนั้น


เมื่อจิตใจยอมรับและมีกำลังมากขึ้นจากการทำสมาธิบ่อยๆ ก็จะออก

จากกายไป และจะได้พบเห็นสิ่งที่อัศจรรย์ เช่น ถ้ามีสติมองกลับมาดู

ร่างกายของตนเองก็เห็นตนเองมี 2 ร่างกาย คือกายเนื้อและกายทิพย์

ถ้าไม่มีสติควบคุมไว้ให้ดี ก็อาจท่องเที่ยวไปในโลกทิพย์อย่าง

เพลิดเพลิน จนลืมกายเนื้อ

วิธีแก้ไข ให้นึกถึงร่างกายของตนไว้จิตวิญญาณ ก็จะกลับมาสู่ร่าง

เดิม นี่เป็นพื้นฐานของอิทธิฤทธิ์ทางใจ เป็นประสบการณ์ทางจิตส่วน

บุคคล

ถ้าจะให้ดี อย่าส่งจิตใจออกไปข้างนอกภาวนาให้มีสติท่องเที่ยวไปใน

กายเนื้อ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น จิตก็ไม่ออกจากกาย แต่

ค้นหาความจริงภายในกายว่ามีอะไรเป็นของๆตน มีสิ่งใดเที่ยงแน่นอน

มีอะไรตั้งอยู่ มีอะไรดับไปบ้างเป็นต้น

ถ้าภาวนาเรื่อยๆ จิตก็จะเบื่อหน่ายตัวตนอย่างแท้จริงไม่ใช่เพียง

สัญญาการกำหนดหมายรู้ แต่เป็นปัญญารู้เห็นจริงด้วยตนเอง นี้คือ

ทางผ่านของผู้บริสุทธิ์

(หมายเหตุ ประสบการณ์เฉพาะตัวยังไม่จบ จะเขียนเพิ่มเมื่อมีเวลา ถ้าไม่ได้เขียนก็ขออภัย)


สูตรของภาระอันเป็นของหนัก

ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระอันหนักหนอ
บุคคลนั้นแหละ เป็นผู้แบกเอาภาระไป

การแบกภาระนั้นเป็นทุกข์ในโลก


การปล่อยวางภาระเสียได้ย่อมเป็นสุข


บุคคลใดทิ้งภาระอันหนักเสียแล้ว


ไม่แบกเอาสิ่งอื่นๆเป็นภาระอีก

ถอนตัณหาได้แล้วพร้อมทั้งราก

สิ้นความปรารถนาแล้วก็ไม่แคล้วถึงปรินิพพาน



หมายเหตุ ขันธ์ทั้ง ๕ คือเครื่องผูกไว้ให้เป็นร่างกายที่มีจิตใจอาศัยอยู่

ส่วนประกอบเป็นรูป ๑ คือ 

ร่างกาย มีอาการ ๓๒ คือ 
ธาตุดิน ๒๐ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนังหุ้มอยู่เป็นต้น และ
ธาตุน้ำ ๑๒ มี น้ำดี น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ เป็นต้น

และส่วนประกอบที่เป็นนาม ๔ คือ

๑. ความรู้สึกต่างๆ,

๒. ความจำได้หมายรู้,

๓. ความคิดต่างๆ, และ

๔. ความรู้ในอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดจากตาเห็นรูปต่างๆ,

หูได้ยินเสียงต่างๆ

จมูกรับรู้กลิ่นต่างๆ, ลิ้นได้รับรสต่างๆ, กายได้สัมผัสกับสิ่ง
ต่างๆ, ใจได้รับรู้ธรรมะต่างๆ


สัญญา 10 ประการ

พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่พระคิริมานันทะ จนหายป่วยจากโรคมี

อะไรบ้างว่าโดยย่อดังนี้

สัญญา คือความกำหนดหมาย (ความจำได้หมายรูั)

1. ความกำหนดหมายให้รู้ว่าร่างกายและจิตใจนั้นไม่เที่ยงแท้ถาวร 
    
    รูปมี ธาตุดิน 20 ไม่เที่ยง ธาตุน้ำ 12 ไม่เที่ยง (อาการ 32 )

    ความกำหนดหมายให้รู้ว่านามมี ความรู้สึกไม่เที่ยง 
    
    ความคิดไม่เที่ยง ความจำไม่เที่ยง ความรู้ในอารมณ์ต่างๆไม่เที่ยง

2. ความกำหนดหมายให้รู้ว่าร่างกายและจิตใจนั้นไม่ใช่ตัวตน

3. ความกำหนดหมายให้รู้ว่าร่างกายนั้นเป็นของไม่สวยไม่งาม

4. ความกำหนดหมายให้รู้ว่าร่างกายนั้นเป็นโทษเป็นรังของโรคต่างๆ      
    มีสารพัดโรค

5. ความกำหนดหมายให้รู้ว่าร่างกายนั้นเมื่อเจ็บป่วยรักษาไม่หาย 
   
    และตายก้ต้องละทิ้งเสีย ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

6. ความกำหนดหมายให้รู้ในธรรมอันปราศจากราคะ (ความกำหนัด)


7. ความกำหนดหมายให้รู้ในธรรมอันเป็นหนทางดับทุกข์ 
    
    เช่น การละกิเลส ตัณหา ราคะ ทั้งปวง

8. ความกำหนดหมายให้ไม่ยินดีในโลกทั้งปวง (โลกคือที่ๆมีความมืด)

9. ความกำหนดหมายให้ไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง
   
    (สังขาร คือร่างกาย และความคิดทั้งปวง)

10. ความกำหนดหมายให้มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์
    
     (เป็นวิหารธรรม การปฏิบัติของผู้บริสุทธิ์)


เขียนโดย อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ
อ.สุชาติ ภูวรัตน์

มรรค มีองค์ 8 

คือแนวทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ของผู้บริสุทธิ์ที่มีความ

สงบสันติสุข 8 ประการ มีดังต่อไปนี้

1. สัมมาทิฏฐิ (Right Understanding)

มีความเข้าใจที่ถูกต้อง คือมีปัญญา รู้ว่าเกิดมาก็เป็นทุกข์ (ทนได้

ยาก) แก่ก็เป็นทุกข์ เจ็บป่วยก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์ โศกเศร้า

เสียใจ ที่ต้องจากโลกนี้ไป บางคนยังไม่ถึงวัยอันควร บางคนเกิด

อุบัติเหตุ อุบัติภัย ยังไม่ถึงเวลาตายก็ต้องตาย จิตวิญญาณต้องร่อนเร่

พเนจร ได้รับทุกข์เวทนามาก จะติดต่อขอความช่วยเหลือจากญาติพี่

น้อง เพื่อนฝูงก็ลำบาก คนที่ตายไปแล้ว เขาก็เรียกว่าผี คนที่เคยรัก

เคยชอบก็กลัว น่าเวทนาสงสารมาก

มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความอยาก

ไปเกิดในที่ๆ ตนพอใจ อยากเป็นในสิ่งที่ตนพอใจ อยากได้อยากมีใน

สิ่งที่ตนพอใจ หรือไม่พอใจในที่ๆตนไปเกิด ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเป็น

อยู่ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น ไม่อยากมี และมี

ความพอใจในกามารมณ์ ทีรูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัสทางกาย 

เป็นต้น ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

มีความเข้าใจถูกต้อง เรื่องผลของกรรม (การกระทำ) ว่าทำดีได้ดี ทำ

ชั่วได้บาป ต้องรับผลของกรรมทั้งชาตินี้ และชาติหน้า มีความเข้าใจ

ว่าการชดใช้กรรมบาปในโลกนี้มีคุก ตะราง เป็นต้น การรับผลของ

กรรมชั่วในโลกหน้า ในนรก เป็นเปรต อสุรกาย เป็นต้น การรับผลของ

กรรมดี มี สวรรค์ พรหมโลก เป็นต้น เมื่อหมดบุญแล้ว ก็ต้องมาเกิด

เพื่อชดใช้กรรมเก่า สร้างกรรมใหม่ ตราบใด ยังไม่หมดเวร (ผลัดกัน

ทำ) และหมดกรรม มีความเชื่อว่าเวรกรรมมีจริง

มีความเข้าใจถูกต้องว่า พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ไม่กลับมาเกิดแล้วมี

จริง พระธรรมคือคำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อ

ความพ้นทุกข์ทั้งปวงได้จริง พระนิพพานมีจริง และมีผู้ปฏิบัติตามคำ

สอนพระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่กลับมาเกิด

แล้วเป็นจำนวนมากมีจริง

มีความเข้าใจถูกต้องว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในโลก ย่อมมี

ความเสื่อม ไม่คงทนถาวร และสลายไปในที่สุดเป็นธรรมดา ร่างกายก็

เป็นเช่นนั้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของตลอดกาล แม้แต่ตำสอนของ

พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ก็มีอายุ 5 พันปี พระอาทิตย์ โลก พระจันทร์ 

ก็แตกดับได้เมื่อถึงกาลเวลา


มีความเข้าใจถูกต้องว่า กิเลส ตัณหา ราคะ เปรียบเสมือนไฟที่เผา

ผลาญจิตใจให้เป็นทุกข์อยู่เสมอ การรักษาศีล มีความตั้งใจมั่น มีสติ

ปัญญา กำจัด กิเลส ตัณหา ราคะ ย่อมถึงความดับทุกข์ได้แน่นอน

มีความเข้าใจถูกต้องว่า การมีตัวตน การเป็นเจ้าของ หวงแหน อิจฉา 

ริษยา การเป็นศัตรู การโกง ทำผิดกฎหมาย ศีลธรรม ประเพณีอันดี 

เป็นต้น ย่อมนำความทุกข์มาให้

มีความเข้าใจถูกต้องว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึง

พร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย เพื่อดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข และมีพระนิพพาน (มีความสุข

อย่างยิ่ง และไม่กลับมาเกิดอีก )เป็นที่หมายก่อนตายจากโลกนี้ไป 

สำหรับผู้ที่มีตาใน (ตาทิพย์) สามารถมองเห็นจิตใจของตนเองได้ ว่า

ผ่องใส หรือมีสีต่างๆ เพราะ กิเลส ตัณหา ราคะ เข้ามาสู่จิตใจของตน 

ย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่ไม่มี ทำให้ขจัดสาเหตุแห่งทุกข์ออกไปได้เสมอ

สามารถทำสมาธิเข้านิโรธ สู่การดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง

มีความเข้าใจถูกต้องว่า แนวทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ 8 ประการ 

ของพระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ เมื่อปฏิบัติตามแล้วทำให้มีความสงบ

สันติสุข ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก

2. สัมมาสังกัปโป (Right Thought) มีความคิดที่ถูกต้อง 

คือความคิดที่ดีและมีปัญญาในการดำเนินชีวิตสู่ความพ้นทุกข์อย่าง

ถาวร เช่น คิดละกิเลส ตัณหา ราคะ

คิดบวช คิดละสังโยชน์ 10 ประการ

คือเครื่องร้อยรัดผูกมัดให้ติดข้องกับโลก และเวียนว่ายตายเกิด คิด

สลัดออกซึ่งกามราคะ

คิดทำความดีทั้งปวง คิดละเว้นการทำบาปทั้งปวง และทำจิตของตน

ให้ผ่องใสอยู่เสมอ เป็นต้น

3. สัมมาวาจา (Right Speech)

การพูดที่ถูกต้อง ได้แก่
-ไม่พูดเท็จ ไม่พูดปด โกหก หลอกลวง เอาแต่ได้ แต่เป็นโทษ

เป็นภัยต่อผู้อื่น
-ไม่พูดส่อเสียด คือไม่พูดยุยงให้ทะเลาะกัน และให้แตก

สามัคคี ใส่ร้ายป้ายสีกัน หรือพูดแหนบแนม เป็นต้น
-ไม่พูดเพ้อเจ้อ คือ ไม่พูดจาเหลวไหล ไร้สาระ จับเอาเนื้อ

ความไม่ได้ แบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหลง เป็นต้น
-ไม่พูดหรือด่าด้วยคำหยาบคาย ไม่พูดจาก้าวร้าว เป็นต้น

4. สัมมากัมมันโต (Right Behavior or Action)

การกระทำที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียน ไม่เป็นโทษ ไม่เป็น

ภัยแก่ผู้อื่นและตนเอง ได้แก่
-ไม่ฆ่า ไม่กักขังทรมาน ทำร้ายผู้อื่น ไม่ขับรถฯ ด้วย

ความประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บและตาย เป็นต้น  
-ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่คดโกง ไม่ปล้น ไม่แย่งฉกชิงวิ่งราว 

ยักยอกทรัพย์สมบัติผู้อื่น ไม่เรียกหรือรับส่วย ไม่

คอรัปชั่น
 ไม่โกงภาษี เป็นต้น
-ไม่ประพฤติผิดประเวณี ผิดลูก เมีย สามีผู้อื่น ไม่เป็น

นายหน้าค้าประเวณี เป็นต้น
-ไม่ดื่มเหล้า เมาสุรา เบียร์ ไม่สูบบุหรี่ ยาเสพติดให้

โทษทุกชนิด เป็นต้น
-ไม่เล่นการพนัน ไม่เล่นหวย  ไม่รีดไถ ไม่มอมเมาผู้

อื่น ไม่ข่มขู่เรียกเก็บดอกเบี้ย เป็นต้น
-ไม่ทำผิดศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี ไม่ออก

กฎหมายเพื่อประโยชน์ตนเองและพรรคพวก แต่

ทำให้ ผู้อื่นเดือดร้อน ผิดหลักมนุษยธรรม ไม่ซื้อสิทธิ์

หรือขายคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
5. สัมมาอาชีโว (Right Livelihood 

การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง คือประกอบอาชีพที่ถูกต้องตาม

ศีลธรรมและกฎหมาย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นได้แก่
-ไม่ผลิตอาวุธ ไม่ผลิตยาพิษ ไม่ผลิตเหล้าสุรา เบียร์ 

บุหรี่ ไม่ผลิตยาเสพติดให้โทษทุกชนิด เป็นต้น
-ไม่เลี้ยงคนเพื่อขายหรือค้าทาส ไม่เลี้ยงสัตว์เพื่อขาย

หรือจับสัตว์ขาย ไม่กักขังทรมานสัตว์ เป็นต้น
-ไม่ค้าคน ไม่ค้าประเวณี ไม่ค้าสัตว์ ไม่ค้าอาวุธ ไม่ค้า

ยาพิษ ไม่ขายบุหรี่ ไม่ขายเหล้าสุรา ไม่ขายเบียร์
 ไม่ขายยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ไม่ออกเงินให้กู้เรียก

เก็บดอกเบี้ย ไม่เก็บหัวคิวเป็นเสือนอนกิน เป็นต้น
-ไม่เปิดบ่อนเล่นการพนัน ไม่ซื้อขายหวย ไม่เปิดซ่อง

โสเภณี ไม่ซื้อขายของเถื่อน ไม่รับซื้อของโจร  
-ไม่เป็นนายหน้าค้าคน ค้าประเวณี ค้าสัตว์ ค้าอาวุธ 

ค้ายาพิษ ขายบุหรี่ ขายเหล้าสุรา ขายเบียร์ ขายยาเสพ

ติดให้โทษทุกชนิด เป็นต้น
-พระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี แม่ชี ผ้าขาว 

นักบวช บิณฑบาตเลี้ยงชีพได้ ไม่เกิน 3 บาตร
ตามพระพุทธบัญญัติอนุญาตไว้  คือเพื่อเลี้ยงชีพบิดา 

1 บาตร เลี้ยงชีพมารดา 1 บาตร
เพราะไม่ได้มีอาชีพทำการงานเลี้ยงชีพเหมือนบุคคล

อื่นๆ เป็นต้น
6.      สัมมาวายาโม (Right Effort )

ความพยายามที่ถูกต้อง คือ
-พยายามทำความดีทั้งปวง
-พยายามละเว้นความชั่วทั้งปวง
-พยายามรักษาความดีที่ได้ทำสั่งสมไว้
-พยายามเลิกความชั่วที่เคยทำสั่งสมไว้
-พยายามทำความเพียรในสมถะวิปัสสนากรรมฐานเป็น

อารมณ์เพื่อความพ้นทุกข์ทั้งปวง

7.      สัมมาสติ (Right Mindfulness)  
ความมีสติ (คือความระลึกได้) ที่ถูกต้อง คือปฏิบัติตาม

สติปัฏฐาน ๔ โดยย่อมีดังนี้
1)      พิจารณากาย (รูป ๑ มีธาตุต่างๆ) ทั้งภายใน

และภายนอก ไม่ยินดียินร้าย ไม่ยึดติดในโลก
เพราะร่างกายกำเนิดขึ้นมาแล้ว เป็นรังโรค มีความ

เสื่อมไปเป็นธรรมดา และสลายไป ในที่สุด
2)      พิจารณาเวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ) ทั้ง

   ภายในและภายนอก ไม่ยินดียินร้าย ไม่ยึดติดในโลก
เพราะเวทนาเกิดมีขึ้นแล้ว ก็เสื่อมไป เป็นธรรมดา 

และสลายไป ในที่สุด
3)      พิจารณาจิต (นาม ๔ มีความรู้สึก ความจำ 

ความคิด ความรู้ในอารมณ์ต่างๆ) ทั้งภายในและ

ภายนอกไม่ยินดียินร้าย ไม่ยึดติดในโลก เพราะจิต

เกิดมีขึ้น  แล้ว ก็เสื่อมไป เป็นธรรมดา และสลายไป

ในทีสุด
4)      พิจารณาธรรม (คือแนวทางปฏิบัติเพื่อความ

   พ้นทุกข์) ทั้งภายในและภายนอก ไม่ยินดียินร้าย
ไม่ยึดติดในโลก เพราะธรรมเกิดมีขึ้นแล้ว ก็เสื่อม

ไป เป็นธรรมดา และสลายไป ในที่สุด
ธรรมะที่ใช้เพื่อปฏิบัติ มีการละอุปาทานขันธ์ ๕ ละ

กิเลส ตัณหา ราคะ ละสังโยชน์ สติสัมโพชฌงค์
อริยสัจ ๔  เป็นต้น
หมายเหตุ  ที่เขียนว่าทั้งภายในและภายนอก หมาย

ถึง มนุษย์ มีทั้งกายเนื้อและกายทิพย์
เวทนา จิต ธรรม ก็มีทั้งอยู่ในกายภายนอกและกาย

อันเป็นทิพย์ภายในซ้อนกันอยู่ ผู้ที่มีตาทิพย์ก็เห็น

กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมใน

ธรรมอันเป็นภายในได้
ถ้าไม่มีตาทิพย์ ในส่วนของกาย สามารถพิจารณา

จากสิ่งหุ้มกายภายนอกและอวัยวะภายในก็ได้
หรือพิจารณากายเวทนาใจคนอื่นเป็นตัวอย่างแล้ว

น้อมเข้ามาที่กายเวทนาใจตนเอง แล้วแต่ปัญญา
ธรรมะก็เหมือนกัน ดูว่าเขาปฏิบัติธรรมใดด้วยวิธีใด

ทำให้พ้นทุกข์ได้ ก็ศึกษาและปฏิบัติตามเขาไป
เป้าหมายคือหนทางปฏิบัติไม่กลับมาเกิดอีก หรือ

เกิดให้น้อยชาติที่สุด เช่น ชาติเดียวก็ทุกข์เหลือเกิน
ทำอย่างไร ไม่ยึดติดกาย สบายติดโลก  ก็ต้อง

ทำลายสังโยชน์ กิเลส ตัณหา ราคะ ให้ได้ก่อนตาย
(สนใจศึกษา มหาสติปัฏฐาน ๔ จะมีประโยชน์มาก 

ทำให้บรรลุถึงทางพ้นทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว )
8.      สัมมาสมาธิ (Right Concentration)

ความตั้งใจมั่นที่ถูกต้อง สงบจากกิเลส ตัณหา ราคะ 

สงัดจากกามารมณ์ สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
-ฌาน (ความเพ่ง) ที่ 1 สงัดจากกามารมณ์ สงัดจากอกุศล

ธรรม มีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เกิดจากจิตสงบ
-ฌาน (ความเพ่ง) ที่ 2 ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์ มีแต่ปีติ สุข อัน

เกิดจากจิตสงบมากขึ้น ทำให้จิตผ่องใส
-ฌาน (ความเพ่ง) ที่ 3 ละปีติได้ มีแต่สุขทางกาย มีอุเบกขา มี

สติ สัมปชัญญะ
 (พระอริยะเจ้าสรรเสริญว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข)
-ฌาน (ความเพ่ง) ที่ 4 มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ไม่มีสุข 

ไม่มีทุกข์ (เพราะโสมนัส โทมนัสดับไป)

เรียบเรียงเขียนโดย อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ

อ.สุชาติ ภูวรัตน์







-----------------------------------------------------------------------------------------------

















 




No comments:

Post a Comment